การพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

จารุวรรณ มิยามา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนาสีนวน พิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คเท็กการ์ด (Kemmis and McTaggart, 1998 : 11-15) ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบแต่ละวงรอบประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกต และการสะท้อนผล ประชากรได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย จำนวน 1 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ จำนวน 1 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ จำนวน 1 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน ประกอบด้วยครูผู้สอน โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบทดสอบ และแบบบันทึกการประชุม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยหาประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและการช่วยเหลือของกลุ่มผู้ร่วมวิจัย การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้าและนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ สามารถสรุปผลในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านการศึกษาและการเตรียมการ ผลการดำเนินการศึกษาดูงาน บุคลากรที่เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการและรูปแบบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน รู้จักเก็บรวบรวม เอกสารคู่มือ ตามกรอบที่กำหนด 2) ด้านการวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษามีการจัดทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศทางการศึกษาครบทุกด้านและการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ 3) ด้านการนำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ มีการทบทวนสร้างความเข้าใจแผน มีการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรก่อนการนำแผนประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ และมีการนิเทศ 4) ด้านการตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีการแต่งตั้งกรรมการและประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาตามกำหนดเวลา 5) การพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติตามการตัดสินใจของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการและพัฒนาโดยทีมงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานของแผนกและกลุ่มสาระการเรียนรู้ 6) การเตรียมการประเมินจากองค์กรภายนอก ผู้เข้าร่วมรับการนิเทศมีความสนใจ กระตือรือร้นในการทำงานและให้ความร่วมมือในการเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอกเป็นอย่างดี และสามารถเตรียมเอกสาร ข้อมูลสารสนเทศ หลักฐานการปฏิบัติงานได้ครบถ้วนสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา

 

Development of Personnel Participation in Educational Quality Assurance of Nasinuan Pittayasan School, Kantarawichai District, Mahasarakham Province

The Study on Development of Personnel Participation in Educational Quality Assurance of Nasinuan Pittayasan School, Kantarawichai District, Mahasarakham Province, aimed to develop the personnel participation in EQA of Nasinuan Pittayasan School, Kantarawichai District, Mahasarakham Province. The Action Research Principle of Kemmis and McTaggart was applied. Each of two cycles comprised planning, action, observation and reflection. For a stakeholder group, co-researchers and informants, a total of 4, comprised the researcher, the head of academic section, the director of the school, and the president of the educational committee. For an informant group, informants composed of 12 teachers and 3 committee members of Nasinuan Pittayasan School. The data collection tools included an interview form, a questionnaire, an observation form and a minute form. The triangulation technique was applied and researcher findings were presented as description.

The research results revealed that the development of the personnel participation in EQA of Nasinuan Pittayasan School can be concluded in each aspect as follow; 1) Education and preparation aspects, the results of study trip the participating personnel have knowledge and understanding in method and pattern of the Education Quality Assurance of Nasinuan Pittayasan School. They are collect data and all documents about subject of study trip. 2) Education Quality Assurance planning aspects, They made basic data and educational informations in all aspects and presented by computer. 3) Using the plan of Education Quality Assurance aspect, the review of the comprehensive plan by developed personal activity pre-use the plan and recieved the supervision. 4) The peer-reviewed of school educational quality aspect. The appointed directors have meetings to understand the implementation, monitoring and review of educational quality assurance by schedule. 5) The development and improvement follow the decision of the directors of Basic Education. Conducted and improved by staff who responsible for developing and improving standards of the performance of the division and subjects group. 6) Preparation of external assessment. Supervision participants are interested. Enthusiasm for the work, and to cooperate in the preparation for evaluation of outside organizations as well, they can preparation documentation and information with evidences of performance completed for the education quality assurance.

Article Details

บท
บทความ