ความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย

Main Article Content

ชณทัต บุญรัตนกิตติภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลและสภาพปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจในความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชน กลุ่มผู้ผลิตเครื่องประดับและอัญมณี 200 ตัวอย่าง และ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชนส่วนใหญ่เพศหญิงอายุอยู่ในช่วง 30-60 ปี มีอาชีพหลักเป็นค้าขาย และอาชีพรองเป็นค้าขายเช่นกัน สถานภาพสมรส มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นประธานกลุ่ม ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 4 - 6 ปี จำนวนทุนในการประกอบการน้อยกว่า 300,000 บาท มีจำนวนสมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชน ในช่วง 12-16 ราย ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชนมีการดำเนินเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่วนใหญ่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ด้านการบัญชีเพื่อการจัดการ และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 3) แนวทางการเพิ่มความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชนให้ภาครัฐถือนโยบายและนำไปปฏิบัติเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีหน่วยงานที่ถือปฏิบัติโดยตรง สร้างผู้นำวิสาหกิจชุมชน ด้านการศึกษาเน้นมอบหมายให้มหาวิทยาลัยและสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียนที่ตั้งในส่วนท้องถิ่นอบรมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ด้านเทคโนโลยีเผยแพร่แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและรองรับอาเซียน ด้านการนำเสนอสิ่งใหม่โดยการทำการตลาดด้านภูมิปัญญาที่บอกกล่าวเกี่ยวกับเรื่องราวและสร้างมูลค่าเพิ่มพร้อมสร้างความแตกต่าง และการพัฒนาและควบคุมผลิตภัณฑ์ด้วยการมีประกาศรับรองผลิตภัณฑ์ด้วยหน่วยงานจากภาครัฐเช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โอทอป การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นต้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

 

Capacity Entrepreneur of Community Enterprises in Thailand

This research aimed at: 1) studying the current situation related to the entrepreneurs’ abilities of Thai community enterprises and their networks 2) studying the factors that affected the entrepreneurs’ abilities of Thai community enterprises and their networks and 3) studying ways to develop the entrepreneurs’ abilities of Thai community enterprises and their networks. The study employedquantitative research and collected questionnaires from 200 samples derived from Thai jewelry and accessory community enterprises and their networks in every region of Thailand. The statistical techniques were utilized to analyze data included mean, standard deviation, Pearson's Correlation Coefficient and multiple regressions (Enter Method). The results showed 1) Most of entrepreneurs are married female with the age between 30 - 60 years old. Their major careers were private businesses. They finished primary school and acted as group leaders and run the group for 4 – 6 years with the capital less than 30,000 Baht and 12 - 16 members in each group. Most of the groups hold the community product standard. 2) Factors that influenced to the increasement of capacity of community entrepreneurs in Thailand were Folk wisdom, Organization Culture, Participatory Management, Accounting for management and Human Resources Development.that the independent variables included government policy and To increasement the capacity, the government should follow policy strictly and apply philosophy of Sufficiency Economy to the community. A government unit should be set up to support leaders. In terms of training, the government should assign a university and Provincial Office of the Non-formal and informal Education to fulfill the training job. In term of technology, the entrepreneurs should be encouraged to use internet to find all information. In terms of initiative, doing market on folk wisdom was recommended to tell story and increasement its value by its differentiation, development and quality control that was supported from several standards such as OTOP product standard and product standards from Tourism of Thailand and Ministry of Agriculture and Cooperatives at statistically significant level of .05

Article Details

บท
บทความ