การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา พระบรมธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ภัทรวิทย์ ธีรภัคสิริ
ธเนศ ศรีสถิตย์
จรินทร์ ฟักประไพ

บทคัดย่อ

ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งที่เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของพระบรมธาตุนาดูน ตลอดจนศักยภาพในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของพระบรมธาตุนาดูน เนื่องจากพระบรมธาตุนาดูน ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดมหาสารคาม และเป็นที่เคารพสักการะทั้งคนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ที่สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

ในการศึกษาครั้งนี้ทีมผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างร่วมกับการประเมินศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของพระบรมธาตุนาดูนโดยใช้เครื่องมือตามแบบคู่มือประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบในการจัดการพระบรมธาตุนาดูน ผู้นำชุมชน ได้แก่ผู้ใหญ่บ้านตำบลนาดูน ผู้ใหญ่บ้านจากตำบลพระธาตุ และประชาชนในท้องถิ่น

จากผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของชมชน ในด้านการตัดสินใจ คนในชุมชนส่วนใหญ่จะไม่มีส่วนในการการตัดสินใจ แต่สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโดยผ่านคณะกรรมการกองทุนอนุรักษ์และพัฒนาพระบรมธาตุนาดูนได้ นอกจากนี้การดำเนินการในทุกๆกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุนาดูน คนในชุมชนจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และเป็นกำลังหลักในการจัดกิจกรรม ส่วนทางด้านการรับผลประโยชน์ จะมีการจ้างงานจากคนในพื้นที่เป็นหลัก เช่น การเช่าพื้นที่ขายสินค้าจะเป็นคนในชุมชนเท่านั้น แต่ขณะที่กิจกรรมด้านการบริการนำเที่ยวที่จะเป็นคนภายนอกเข้ามาขอสัมปทานดำเนินการ เนื่องจากคนในพื้นที่ขาดทุนทรัพย์และความสามารถทางด้านการบริการนำเที่ยวนอกจากนี้ด้านการประเมินผล คนในชุมชนจะไม่มีส่วนร่วมในการประเมินผล แต่จะมีส่วนร่วมแค่ในการรับรู้การสรุปผลการดำเนินการจากคณะกรรมการเท่านั้น

 

The community participation in Managing the Sustainable Tourist Attraction :  PraThart Na Doon, Na Doon District, MahasaraKham

This study was conducted as the qualitative and quantitative researches. The qualitative data was collected using the unstructured interview form and the evaluation form on the tourism potential of PraThart Na Doon. Meanwhile, the quantitative data was collected from the questionnaire.

Based on the evaluation form, it was affirmed that PraThart Na Doon was rated with good score for its tourism potential. Also, it was significantly rated with highest score for its Attractiveness followed by the Tourist Support. The Management was rated with lowest score and the community participation was quite poor, especially for the tourist-related business e.g. tour agency. Besides, the community members barely had a chance to participate and did not actually earn their income from the place.

The finding suggests that in term of decision making, most of the community members are not allowed to make their own decision but free to give their personal attitudes on the topic through the committees of Pra That Na Doon Preservation and Development Foundation. Besides, the community members, as the main supporter, participate in all activities related to the Pra That Na Doon. In term of the community benefits, an employment is provided to all local people so they can earn from different activities e.g. the selling areas are reserved only for the local venders but touring services are managed by the outsiders due to a shortage of the local capacity and budget. For the activity evaluation, the community members are not allowed to join but to be informed about the result from the committees.

Article Details

บท
บทความ