การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุรีรัตน์ อิ่นคำ
ชญาดา วรรณภิระ
รัชพล ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองการศึกษาและหัวหน้าส่วนการศึกษา ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็กและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก รวมทั้งหมดจำนวน 167 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัย พบว่า สภาพภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเทิงจังหวัดเชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \mu=2.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของสถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \mu=2.74)

รองลงมา ด้านการกำหนดภารกิจของสถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \mu=2.71) และด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง(\inline \mu=2.67) ปัญหาการดำเนินงาน พบว่าการกำหนดกรอบการทำงานไม่ชัดเจน บุคลากรไม่ให้ความสำคัญกับการนิเทศติดตามงาน ผู้นำไม่ให้ความสำคัญต่อปัญหา บุคลากรไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน คือควรมีการประชุมชี้แจงและมอบหมายการปฏิบัติงานและกำหนดกรอบการทำงานให้ชัดเจน ควรมีการกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรได้เห็นความสำคัญของการติดตามนิเทศงาน ควรมีการวางแผนในการกำหนดอัตราส่วนการดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการกำหนดภารกิจของสถานศึกษา ได้แก่การสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแก่บุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดทำแผนให้หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เข้าใจและตระหนักในบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นและกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ของแผนพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่จัดทำแผนให้หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับความรู้เทคนิคการบริหารงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและกระตุ้นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหัวหน้าศูนย์กับครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการของสถานศึกษา ได้แก่การพัฒนาบุคลิกภาพพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศึกษาการบริหารจัดการด้านบรรยากาศทางวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการบริหารโดดเด่น

 

Academic Leadership Development of The Head of Child Development Center Under The Local Government Organization, Thoeng District,Chiang Rai Province

The purpose of this research is to study the state ,provide problem and suggestions and the guideline academic leadership development of the head of child development center under the local government organizations, Thoeng District,Chaing Rai province . Population, including the Administration of local government organization, Director of Education Division and head of Education, Chairman of the administrative Board of the child development center, care teachers and assistant child care teachers ,total number of 167 people and experts, the 9 people the tools used in the analysis The data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation, and the research results are as follows: focus group

The academic leadership development of the head of child development center under the local government organizations. Overall moderate (\inline \mu = 2.71) the average of high to low are The enhancement of academic atmosphere of the school in the medium (\inline \mu = 2.74), followed by the determination of the mission schools in the medium (\inline \mu = 2.71) and the teaching in the medium (\inline \mu = 2.67) The problems, it is found that the framework is unclear, personnel not to focus on supervision work. The leaders not to focus on problems and insufficient personnel. Suggestions for operation found that should have meetings and assigned work and set the framework to clear, should be to encourage and promote staff is fully aware of the importance of follow-up supervision.

Article Details

บท
บทความ