การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กนิษฐา ดวงจิตต์
บังอร กองอิ้ม
กมลหทัย แวงวาสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัด การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเสิงสาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 74 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 (Experiment Group I) จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น จำนวน 38 คน และกลุ่มทดลองที่ 2 (Experiment Group II) จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาเคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบ Likert’s Scale 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples) และ One - way MANOVA ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 78.02/79.80 และ 75.97/75.20 ตามลำดับ 2) ค่าดัชนีประสิทธิผล ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.6744 และ 0.6670 ตามลำดับ 3) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้าน ความอยากรู้อยากเห็น ความรอบคอบ ความใจกว้าง และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านความ มีเหตุผล ความเป็นปรนัย ความซื่อสัตย์ และการยอมรับข้อจำกัด ไม่แตกต่างกัน

 

The Comparison of Learning Achievement, Critical Thinking Ability and Attitude toward the Subject of Science between the Inquiry-Based Learning Method (7E) and the Project Work Learning Method for Mathayomsuksa 6 Students

The purpose of this research were to develop the learning management plan for the inquiry-based learning method (7E) and the project work learning method of Mathayomsuksa 6 students, to determine efficiency index of the inquiry-based leaning method (7E) and the project work learning method, to compare learning achievement and critical thinking ability of Mathayomsuksa 6 students before and after learning through the inquiry-based learning method (7E) and the project work learning method, and to compare learning achievement, critical thinking ability and attitude toward the subject of science of Mathayomsuksa 6 students between learning through the inquiry-based learning method (7E) and the project work learning method. The sample consisted of 74 Mathayomsuksa 6 students in the second semester of academic year 2011 at Seng-Sang school in which selected by Cluster random sampling. The experimental group I had 38 students and learned through the inquiry-based learning method (7E) and the experimental group II had 36 students learned through project work learning method. Tools used in this study were: (1) Lesson plan on chemical subject, in titled “Petroleum and Petrochemical” for Mathayomsuksa 6. (2) The academic achievement test had 40 questions with four multiple choices. (3) The Likert’s Scale test of attitude toward science learning had 40 questions. The data were statistically analyzed using percentages, mean, standard deviation, t-test and One-way MANOVA. The results of this study indicated that: (1) Lesson plans for the inquiry-based leaning method (7E) and the project work learning method for the Petroleum and Petrochemical subjects for Mathayomsuksa 6 with efficiency 78.02/79.80 and 75.97/75.20. (2) The efficiency indices of the inquiry-based learning method (7E) and the project work learning method for the Petroleum and Petrochemical subjects for Mathayomsuksa 6 are 0.6744 and 0.6679. (3) The academic achievement and critical thinking ability taught by the inquiry-based learning method (7E) and the project work learning method were significantly different at the 0.01 level in which higher than before learning as expected. (4) There were statistically significant different at the 0.05 level in curiosity, deliberation magnanimity. In addition, there were no significant differences in academic achievement, critical thinking ability, and attitudes toward sciences among students after being taught by learning on subject of science through the inquiry-based learning method (7E) and project work learning method.

Article Details

บท
บทความ