การพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง

Main Article Content

อุดมการณ์ ฉางข้าวคำ
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบ การพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนนาฏศิลป์ล้านนาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ล้านนา นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง รวมจำนวน 20 คน ได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา จำแนกเป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การได้รับตัวแบบที่เหมาะสม อิทธิพลของสื่อ/เทคโนโลยี ซึ่งจากผลการศึกษาในระยะที่ 1 ผู้วิจัยได้นำมาสร้างเป็นรูปแบบและออกแบบกิจกรรมการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา

ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้ในการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง จำนวน 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 80 คน และกลุ่มควบคุม 80 คน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนกลุ่มทดลอง ทั้งก่อนและหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาฯ มีความรู้และ ความซาบซึ้งสูงขึ้น และสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาฯ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา สามารถพัฒนาได้ด้วยรูปแบบและกิจกรรมการพัฒนาที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น

 

The Development of Knowledge and Appreciation in Lanna Dancing Art among Students in Provincial Secondary School in Lamphun Province and Lampang Province.

This research was divided into two phases :

Phase 1 was the survey research which aimed at generating a model for developing knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art among students in provincial secondary school in Lamphun and Lampang Provinces. The number of samples employed in this phase was 20 participants; including dancing art teachers in provincial secondary school in Lamphun and Lampang Provinces, Lanna Dancing artists, local scholars, and students in provincial secondary school in Lamphun and Lampang Provinces. These participants were intuited to attend the participative meeting to brainstorm the factors which hindered the knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art. The findings of the study showed that there were two factors which affected the knowledge and the appreciation in Lanna Dancing Art; such as, The findings of this phase were employed to generate a model for the development of knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art.

Phase 2 was the quasi - experimental research which aimed at the experimentation of the model derived from the first phase of the study for development of knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art among students in provincial secondary school in Lamphun and Lampang Provinces. The number of samples used in this Phase were 160 students which devided into two groups, namely, 80 students for experimental group and 80 students for control group. The findings reveal that the mean scores of the knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art of the students in the experimental group prior to and after the experiment were statistically significant different. That is the level of knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art of the students who participated in the development activities were higher than those who did not to participate in such activities. Therefore, it can be concluded that the knowledge and appreciation in Lanna Dancing Art can be developed by the model of the development which is presented in this study.

Article Details

บท
บทความ