การท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย

Main Article Content

ปรีดา ไชยา

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยการท่องเที่ยวเชิงพุทธและการตอบสนองความต้องการต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสกลนครในมุมมองของกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย 410 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติวิธี ANOVA, Factor Analysis, และ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระดับค่อนข้างมากต่อทุกปัจจัยความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงพุทธ และก็มีความพึงพอใจมากต่อทุกปัจจัยการตอบสนองความต้องการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดสกลนคร และพบ 3 องค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธคือ องค์ประกอบจิตวิญญาณมรดกวัฒนธรรมศาสนา องค์ประกอบความมีชื่อเสียงพิเศษสำหรับการแนะนำบอกต่อ และองค์ประกอบตัวกระตุ้นการวางแผนท่องเที่ยว ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์ต่อการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยองค์ประกอบด้านจิตและวิญญาณทางมรดกและวัฒนธรรมทางศาสนามีอิทธิพลต่อการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยมากที่สุด ส่วนองค์ประกอบความมีชื่อเสียงพิเศษสำหรับการแนะนำบอกต่อและองค์ประกอบตัวกระตุ้นการวางแผนท่องเที่ยวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

 

Buddhism Tourism in Sakhonnakorn Province, Thailand

The study aims to examine the importance and responsiveness of Buddhism tourism in Sakhonnakorn Province, from the perspectives of 410 Thai tourists selected with convenient sampling. The research uses a survey questionnaire to collect data. ANOVA, Factor Analysis, and Multiple Regression Analysis techniques were used to test the gabs between the importance and responsiveness features of Buddhism tourism and statistical significances across the determining and determined variables.  The research findings indicate that most Thai tourists rated the importance of Buddhism tourism very high for all items, and at the same time they are very highly satisfied with the responsiveness performance of the Buddhism tourism in Sakhonnakorn for all items. There is a positive relationship between the importance and the responsiveness of Buddhism tourism among Thai tourists. The findings indicate that the component of religious spirituality, heritage, and culture was found to be the most important powerful variable directly affecting the Thai tourists’ satisfaction with Buddhism tourism responsiveness; whereas, the two components of distinguished attractions with word-of-mouth and travel motive stimuli have no direct impact on the Buddhism tourism responsiveness at the statistically significant level of .05. 

Article Details

บท
บทความ