ต้นทุนพลังงานสำหรับกระบวนการผลิตข้าวเหนียวของกลุ่มเกษตรกรประเทศไทย และ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

ปรีชา มาระกะ
สุนันทา เอี่ยมสำอางค์
ณัฐวุฒิ ดุษฎี
ชูรัตน์ ธารารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบททางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 2) การใช้พลังงานและต้นทุนพลังงาน 3) แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับประมาณการใช้พลังงาน สำหรับกระบวนการผลิตข้าวเหนียวของกลุ่มเกษตรกรประเทศไทย (อำเภอพาน) และประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เมืองห้วยทราย) รูปแบบการวิจัยใช้การวิจัยประสานวิธี เครื่องมือเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และเครื่องมือเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ประชากรของการวิจัยได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 8,074 ครัวเรือน และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว จำนวน 6,088 ครัวเรือน การหาขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จของ (Krejcie and Morgan. 1970:608-609) ได้กลุ่มตัวอย่างของอำเภอพานจำนวน 367 ครัวเรือน และเมืองห้วยทรายจำนวน 361 ครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณบริบทด้านสังคม และเศรษฐกิจ ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาร้อยละและการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานและต้นทุนพลังงาน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การใช้พลังงานและแหล่งพลังงานโดยนำข้อมูลปัจจัยการผลิตที่มีหน่วยหลากหลายในกระบวนการผลิตข้าวเหนียวโดยใช้ค่าพลังงานเทียบเท่า (Energy Equivalent) ในการปรับแก้ให้เป็นข้อมูลทางพลังงานภายใต้พื้นฐานเดียวกันคือ (MJ/rai) ส่วนที่ 2 หาต้นทุนการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตข้าวเหนียวนาปีแบบนาดำ โดยนำข้อมูลการใช้พลังงานเทียบเท่า (MJ/rai) ทั้งกระบวนการผลิต เปลี่ยนเป็นหน่วย ยูนิต (1kW-hr.)/rai และแปลงหน่วยการใช้พลังงานให้เป็นบาทต่อไร่ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวของพื้นที่ทั้งสองมีความเป็นอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ และมีวิถีชีวิตแบบสังคมชนบทตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์การปลูกข้าวเหนียวของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่เพื่อใช้บริโภคและขาย รวมถึงยังมีความต้องการทำนาเป็นอาชีพหลักต่อไป สำหรับเกษตรกรลาววัตถุประสงค์ของการปลูกข้าวเหนียวส่วนใหญ่เพื่อใช้บริโภคเป็นหลักเหลือจึงขาย และยังมีความต้องการทำนาเป็นอาชีพหลักต่อไป การใช้พลังงานและต้นทุนพลังงานทั้งกระบวนการผลิตข้าวเหนียว พบว่าพื้นที่อำเภอพานใช้พลังงานรวม 2,828 MJ/ไร่ ต้นทุนการผลิต 8,177 บาทต่อไร่ จุดคุ้มทุน 12.81 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิต 638 กิโลกรัมต่อไร่ และการพยากรณ์การใช้พลังงานต่อปีการเพาะปลูกจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในอนาคตลดลง ผลมาจากพื้นที่การเพาะปลูกข้าวเหนียวลดลง สำหรับพื้นที่เมืองห้วยทรายใช้พลังงานรวม 542 MJ/ไร่ ต้นทุนการผลิต 2,272 บาทต่อไร่ จุดคุ้มทุน 6.45 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิต 352 กิโลกรัมต่อไร่ และการพยากรณ์การใช้พลังงานในอนาคตไม่สามารถพยากรณ์ได้ (ขาดข้อมูลอ้างอิงการใช้พลังงานในอดีต) ข้อเสนอแนะ เกษตรกรทั้ง 2 พื้นที่ควรมีจิตสำนึกและมีความตะหนักในการใช้พลังงานจากปัจจัยการผลิตให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด โดยเฉพาะปัจจัยการผลิตประเภทพลังงานเชิงพาณิชย์ ที่มีค่าพลังงานเทียบเท่าที่สูง เช่น เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ซึ่งส่งผลทำให้มีต้นทุนพลังงานที่สูงนั่นย่อมหมายถึงตัวของเกษตรกรเองต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

 

ENERGY  COSTS  FOR  GLUTINOUS  RICE  PRODUCTION  KINDOM  OF  THAILAND  AND LAOS PDR. FARMERS  GROUP  IN  THE MEKONG  REGION.

The objectives of this study were to study 1) the social and economic context 2) Energy consumption and energy cost 3) Mathematical model for estimating the energy consumption of glutinous rice production among Thai (Phan district) and Lao PDR. (Huay-Xai) farmers’ group in Mekong region. The study was a coordinate method research. The tool for the quantitative research part was a questionnaire. The tools for qualitative part were informal interview and non participant observation. The populations were 8,074 families of Thai glutinous rice farmers in Phan district, Chiang Rai and 6,088 families of Lao PDR. glutinous rice farmers in Huay-Xai district, Bo Kaew province, Lao PDR.. Krejcie and Morgan table (1970 : 608–609) was used to select a sample. The samples were 367 families from Phan district and 361 families from Huay-Xai district. Descriptive statistics (percentage and the use of data analysis program) were used to analyze quantitative data in social and economic context. Energy consumption and energy cost analysis were divided into 2 parts. The first part was energy consumption and energy source. Production factor data which was in energy equivalent converted to energy data based from MJ/rai. The second part was to find the result of energy cost of glutinous rice production process by converting energy equivalent data (MJ/rai) to unit (1kW-hr.)/rai and convert energy unit to Baht/rai. The result revealed that the living status of farmers from both areas ranked in fair level and lived in local society following sufficient economy philosophy. Most Thai farmers produced glutinous rice for consumption and selling. They require to continue farming as their main occupation. For Lao PDR. farmers, they mostly produced glutinous rice for consumption and the rest of household consumption would be sold. They also require to continue farming as their main occupation. For energy consumption and energy cost used in the entire glutinous rice production in Phan district, it founded that the energy used was 2,828 MJ/rai, the production cost was 8,177 Baht/rai, breakeven point was 12.81 Baht/kg, product was 638 Kilogram/rai and prediction for energy consumption per year from mathematical model was decreased due to the decrease of the glutinous rice farming area. In Huay-Xai, energy consumption was 542 MJ/rai, the production cost was 2,272 Baht/rai, breakeven point was 6.45 Baht/kg, product was 352 Kilogram/rai and future energy consumption was unable to predict due to lack of previous reference data. The suggestion from the study is that both farmers from two areas should have an awareness on energy consumption. They should make it most worthwhile especially energy consumption in commercial which has high energy equivalent such as large-sized machines, fuel, chemical fertilizer and chemicals. These affect high energy cost which leads to more expense for farmers.

Article Details

บท
บทความ