กระบวนการเรียนรู้การจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นหญิง ที่รับบริการศูนย์เยาวชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

Main Article Content

เกศกานดา รตจีน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษากระบวนการเรียนรู้การจัดการปัญหาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมช่วงก่อน ระหว่าง หลังการตั้งครรภ์ เพื่อเป็นแนวทางของการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งช่วยเหลืออย่างเข้าถึง ของกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อมในอนาคต ซึ่งเป็นการศึกษา แบบกรณีศึกษา โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จำนวน 5 ราย และผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของกลุ่มวัยรุ่นหญิง จำนวน 8 ราย ผลการศึกษา พบว่า การเรียนรู้การจัดการปัญหาจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อผู้เรียนรู้มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย่ เชื่อว่า การเรียนรู้การแก้ปัญหาเป็นการเรียนรู้ระดับสูง และต้องใช้ความรู้พื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาที่วัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมเกิดการเรียนรู้จากสัญญาณที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจ เช่น ประจำเดือนขาดหาย อาเจียน เวียนศรีษะ เป็นลมและปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน เพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงว่าเป็นสัญญาณของตั้งครรภ์หรือไม่ ผู้เรียนรู้ได้เรียนรู้จากอินเตอร์เน็ตและสอบถามจากบุคคลที่เคยผ่านประสบการณ์ อันเป็น การเรียนรู้จากปัจจัยทางสังคมก่อนการเรียนรู้ขั้นสูง คือการแก้ปัญหา งานวิจัยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นกระบวนการการจัดการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังนี้คือ 1. ผู้เรียนรู้ค้นพบปัญหา 2. เกิดการกำหนดปัญหารอง หรือประเด็นของปัญหา 3. การวางแผนการแก้ปัญหา วิธีการ 4. การเปรียบเทียบทางเลือกของวิธีการ และ 5. เลือกและทดลองวิธีการแก้ปัญหา วัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม จะค้นหาทางเลือกหรือวิธีการแก้ปัญหา จากปัจจัยการเรียนภายนอก เช่น อินเตอร์เน็ต กลุ่มเพื่อนหรือบุคคลที่เคยมีประสบการณ์ เป็นต้น และจากปัจจัยส่วนบุคคล คือ ประสบการณ์หรือความรู้ของตนที่มีมาประยุกต์และตัดสินใจทางเลือกที่เหมาะสม ก่อนการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงขณะเดียวกันการแก้ปัญหาในบางครั้ง วัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ก็ไม่ได้เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง เนื่องจากเกิดผลกระทบทางจิตใจจากการถูกปฏิเสธจากคู่ หรือครอบครัวของฝ่ายชายจึงเป็นหน้าที่ของแม่ฝ่ายหญิงที่จะจัดการแก้ปัญหาแทน การประสบปัญหาของวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ก่อให้เกิดกระบวนการคิด ความเข้าใจ การนึกคิด  การรับรู้ การวิเคราะห์ และการปฏิบัติ โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จากปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเองในที่สุด

Article Details

บท
บทความ

References

คลินิกสมาคมวางแผนครอบครัว แห่งประเทศไทย สาขาเชียงราย. (2557). รายงานข้อมูลของคลินิกสมาคมวางแผนครอบครัว แห่งประเทศไทย สาขาเชียงราย ปี พ.ศ. 2550-2557. เชียงราย : คลินิกสมาคมวางแผนครอบครัว แห่งประเทศไทย.

ชมพูนุช ดอกคำใต้. (2555). การศึกษาประสบการณ์การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น เขตตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย พะเยา.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาถฤดี เด่นดวง. (2551). การละเมิดสิทธิการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นหญิง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

บ้านสคูล ศูนย์เยาวชนจังหวัดเชียงราย. (2557). รายงานผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2550-2557. เชียงราย : บ้านสคูล ศูนย์เยาวชนจังหวัดเชียงราย.

เบญจพร ปัญญายงค์. (2554). คู่มือการให้การปรึกษา ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. กรุงเทพฯ : กรมสุขภาพจิต.

ปรีชา วิหคโต.(2548). “ทฤษฎีและกระบวนการเรียนรู้” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการสอน หน่วยที่ 3.นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาศึกษาศาสตร์.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2531). กระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ. (2556). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. นนทบุรี : โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีจังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ .(2557). รายงานผลการดำเนินงาน ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีจังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ.2553-2557. เชียงราย:โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.

สายฝน เอกวรางกูร. (2554). รู้จัก เข้าใจ ดูแล ภาวะซึมเศร้า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.