ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ด้วยสื่อมัลติมีเดีย

Main Article Content

กลชาญ อนันตสมบูรณ์
ประสิทธิ์ สารภี
ชลิดา จันทจิรโกวิท
กฤษณะ สมควร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตตำบลนางแล และ 2)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อ
สื่อมัลติมีเดียสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตตำบลนางแล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคคลทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวที่ดาวน์โหลดสื่อมัลติมีเดียไปใช้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกตัวอย่างตามสะดวกจำนวน 100 คน


เครื่องมือวิจัยคือ 1) สื่อมัลติมีเดียสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตตำบลนาง และ 2) แบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้   


  1. ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเผยแพร่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตตำบลนางแล
    อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย และหาประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดียสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตตำบล
    นางแล โดยแบ่งเป็น ผลการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ผลการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบต้นแบบของสื่อมัลติมีเดีย และผลการทดสอบการใช้งานต้นแบบสื่อมัลติมีเดีย พบว่า ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก
    (gif.latex?\bar{x}=4.40, S.D=0.50)

  2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยรวมพบกว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.33, S.D=0.49)

Article Details

บท
บทความ

References

กฤษดา ขุ่ยอาภัย. (2552). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาบ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ
อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนา อาสนะคงอยู่ และเอกชัย โกมล. (2554). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา
จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558, จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558. จาก http://tourism-
dan1.blogspot.com/.

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2545). ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์
วิชาชีพการจัดการการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยยศ เรื่องสุวรรณ. (2546). เทคโนโลยีกับการบริการการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ฟิวเจอร์เพรส.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2548). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology). กรุงเทพมหานคร : เคทีพี
คอม แอนด์ คอนซัลท์.

ธานินทร์ หงษา. (2553). การพัฒนาสื่อมัลดิมีเดียเรื่องไดโนเสาร์ที่ภูคุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์.
(วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ ชายหาด. (2549). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร : เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.

พยอม ธรรมบุตร. (2548). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พลวัฒ ประพัฒน์ทอง. (2554). “เชียงรายภัณฑ์” การเชื่อมโยงเชิงสร้างสรรค์จากสินค้าสู่ทุนวัฒนธรรม.
สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558, จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ไพฑูรย์ รัตน์เลิศลบ. (2552). โครงการวิจัยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหาร
จัดการวัฒนธรรม กรณีศึกษากลุ่มก๋องปู่จา บ้านวังหม้อ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง.
สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558, จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

รสิกา อังกูร. (2549). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น.
วารสารการวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 19(1) : 79-88.

ราณี อิสิชัยกุล. (2546). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ การจัดการ
การท่องเที่ยว = Professional experience in tourism management. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศุภกร ประทุมถิ่น. (2554). การสร้างรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้ยั่งยืนตามแนว
พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โดยชุมชนมีส่วนร่วม : ชุมชนไทใหญ่บ้านถํ้าลอด อ.ปางมะผ้า
จ.แม่ฮ่องสอน. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558, จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

สุชาดา งวงชัยถูมิ. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา.
(ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.