การวิเคราะห์โครงสร้างเพลงกล่อมเด็กของชาวว้า

Main Article Content

Xiao Yu Han

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างเพลงกล่อมเด็กของชาวว้ามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง (Pattern) และ มูฟ (Move) ในบทเพลงกล่อมเด็กของชาวว้า ข้อมูลเพลงกล่อมเด็กของชาวว้าได้มาจากหนังสือเพลงพื้นบ้านภาษาว้าเพียงเล่มเดียวที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1987 เพลงพื้นเมืองภาษาว้ามีทั้งหมด 124เพลง โดยแยกเป็นเพลงกล่อมเด็กได้ทั้งหมดจำนวน 86 เพลงและถือเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 86 เพลงด้วยกัน พบว่าเพลงกล่อมเด็กภาษาว้าสามารถแบ่งตามเนื้อหาได้ 5 ประเภทหลัก คือ เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กกำพร้า เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกล่อมเด็กนอน เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิต เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและกำลังใจ และเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิง การวิเคราะห์ในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แนวคิดและรูปแบบในการวิเคราะห์ของบาเตีย (Bhatia) โดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์โครงสร้าง ที่ประกอบด้วยการนำเสนอเรื่อง (Move) และ ขั้นตอน (Step) ของเพลงกล่อมเด็กทั้ง 5ประเภท ผลการวิจัยพบว่า


เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กกำพร้าประกอบไปด้วยโครงสร้างดังนี้  การนำเสนอเรื่องที่ 1: การนำเสนอความลำบากของชีวิต โดยขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1: บรรยายถึงสภาพแวดล้อม ขั้นตอนที่ 2: บรรยายถึงสภาพและสถานะของชีวิต  การนำเสนอเรื่องที่ 2: บรรยายความรู้สึกลึกๆภายในใจประกอบด้วยการนำเสนอขั้นตอน 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1: กล่าวโทษการเสียชีวิตของผู้ให้กำเนิดขั้นตอนที่ 2: ความไม่พึงใจกับสภาพความเป็นอยู่ ขั้นตอนที่ 3: การโหยหาการดูแลและความเอาใจใส่จากผู้ให้กำเนิด  การนำเสนอเรื่องที่ 3: การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1: มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ขั้นตอนที่ 2: มองหาอนาคต


เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกล่อมเด็กนอนประกอบไปด้วยโครงสร้างดังนี้  การนำเสนอเรื่องที่ 1: บรรยายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว การนำเสนอเรื่องที่ 2:  การกล่อมให้เด็กนอน การนำเสนอเรื่องที่ 3: การอวยพรเพื่อชีวิตในอนาคต


เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประกอบไปด้วยโครงสร้างดังนี้ การนำเสนอเรื่องที่ 1: บรรยายฉากที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การนำเสนอเรื่องที่ 2: การให้คำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์ในการใช้ชีวิต การนำเสนอเรื่องที่ 3: การเตือนให้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำ การนำเสนอเรื่องที่ 4: การนำเสนอผลของการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ


เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและกำลังใจประกอบไปด้วยโครงสร้างดังนี้ การนำเสนอเรื่องที่ 1: บรรยายฉากที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การนำเสนอเรื่องที่ 2: การให้คำแนะนำและกำลังใจในการทำงาน ขั้นตอนที่ 1: การนำเสนอตัวอย่างที่ไม่ดี การนำเสนอเรื่องที่ 3: การอวยพรให้มีอนาคตที่ดี


เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิงประกอบไปด้วยโครงสร้างดังนี้ การนำเสนอเรื่องที่ 1: บรรยายฉากที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การนำเสนอเรื่องที่ 2: การเลียนแบบเสียงหรือการแสดงที่เกิดขึ้นของสิ่งของในเรื่องราว  การนำเสนอเรื่องที่ 3: บรรยายความรู้ ความสุข ความสนุกสนานที่ได้รับ


บทเพลงกล่อมเด็กของว้าแสดงให้เห็นถึง กฎเกณฑ์ ความรู้ ความสนุกสนาน และลักษณะอื่นๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของชาวว้า ดังนั้นโครงสร้างของเพลงกล่อมเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอเรื่อง และขั้นตอนต่างๆ ในเพลงแต่ละเพลงจึงมีความแตกต่างกัน โครงสร้างของการนำเสนอเรื่อง และขั้นตอนต่างๆที่พบในการศึกษาครั้งนี้ทำให้พบลักษณะโครงสร้างของบทเพลงกล่อมเด็กในภาษาว้า ผู้แต่งเพลงกล่อมเด็กภาษาว้า ครู และผู้สนใจสามารถนำโครงสร้างนี้ไปศึกษาต่อยอดและสร้างบทเพลงกล่อมเด็กในภาษาว้าได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความ

References

A Vas Folk Songs. (1987). Yunnan: Yunnan Nationalities Publishing House, Va editorial department.

Bhatia, V. K., (1993). Analyzing Genre -- Language Use in Professional Settings. London, Longman, Applied Linguistics and Language Study Series.

Connor, U. &Mauranen, A. (1999). Linguistics analysis of grant proposals: European Union research grants. English for Specific Purposes. Vol. 18(1). Pp.47-62.

Swales, J.M. (1990). Genre Analysis: English in academic and Research Settings. Cambridge: Cambridge University Press.

Wang zhongliang. (2007). Nursery Rhymes in our really world. Journal of Qing yuan polytechnic, 6(4), p, 19.