รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ฐิตาภา บำรุงศิลป์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) เสนอรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญตัวแทนจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ ชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่นและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดศรีษะเกษ รวมทั้งสิ้นจำนวน 102 คน เป็นการกำหนดตัวอย่างแบบเจาะจงและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา จากการศึกษาสรุปได้ว่าจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายในกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ (ลาว ส่วย เยอ  เขมร) จึงทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมเหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ซึ่งประกอบไปด้วย โบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้าง อาหาร เครื่องแต่งกาย ภาษา พิธีกรรมประเพณี และเทศกาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ สังคม การศึกษา และเศรษฐกิจ และรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ จำแนกได้ 4 ประการ คือ องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คุณลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กระบวนการดำเนินการของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมทางวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความ

References

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2) : 331-366.

วิยะดา เสรีวิชยสวัสดิ์. (2554). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Model. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Goeldner, C. R.and Ritchies, B. J. (2006). Tourism: Principles, practices and philosophies.New Jersey: John Wiley and Sons.

Richards, G. (2008). Creative Tourism and local developments in Creative Tourism, a global conversation: how to provide unique creative experiences for travelers worldwide. In Wurzburgen, R, Aageson, T., Pattakos, A., and Pratt, Santa Fe. (Eds.). Creative Tourism: A global Conversation. New Mexico: Sunstone Press.

Romana, K. (2013). Creative tourism as a source of innovativeness and sustainability in tourism. In An Enterprise Odyssey International Conference Proceedings (page 1307-1320). Zageb: University of Zageb.

UNESCO. (2006). Towards sustainable strategies for creative tourism: Discussion report ofthe Planning meeting for 2008 international conference on creative tourism Santa Fe. New Mexico.