พ่อบุญธรรม : บทบาทความเป็นพ่อโดยไม่มีเงื่อนไขในนวนิยายเรื่องยายหนูลูกพ่อ

Main Article Content

สุกัญญา ขลิบเงิน

บทคัดย่อ

  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทและพฤติกรรมของพ่อบุญธรรมในนวนิยายเรื่องยายหนูลูกพ่อของโบตั๋นโดยใช้ทฤษฎีเชิงจิตวิทยา โดยวิเคราะห์จากองค์ประกอบของวรรณกรรมโดยมุ่งเน้นไปที่ตัวละคร โดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากนวนิยาย คือ ยายหนูลูกพ่อของโบตั๋น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า บทบาทและพฤติกรรมพ่อบุญธรรมที่ปรากฏในนวนิยายมี 5 บทบาท ได้แก่ การที่พ่อเป็น หัวหน้าที่ดีของครอบครัวสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมว่าพ่อเป็นผู้เสียสละ ยอมทำงานเหน็ดเหนื่อยเพื่อลูก การเป็นตัวอย่างแก่สมาชิกครอบครัวสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมว่าพ่อเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก ทำให้ลูกได้แนวทางในการปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต การเป็นสามีที่ดีสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมในการให้เกียรติภรรยา ไม่พูดจาดูถูกเหยียดหยามและทำให้ผู้เป็นแม่ผู้สำนึกผิด การเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมพื้นฐานของจิตใจที่เป็นคนมีศีลธรรม การไม่กระทำบาป และการเป็นพ่อที่ดีของลูกสะท้อน ให้เห็นถึงพฤติกรรมของพ่อที่มีความรัก ความเมตตาในการเลี้ยงดูลูกให้ความรักความอบอุ่น บทบาทและพฤติกรรมทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าบทบาทที่เกิดขึ้นเป็นบทบาทที่สังคมคาดหวังให้คนเป็นพ่อทุกคนปฏิบัติ แม้ว่าจะไม่ใช่พ่อบังเกิดเกล้าแต่ก็ให้ความรักและเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีของสังคมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Botan (pen name). (2001). Yai-Noo-Look-Poh. Bangkok: Suweeriyasan.

Chaleaw Buripatdee et al. (1983). Father in Thai Social. Bangkok: Organizing Committee for National Father's Day 1982 and 1983.

Gordon., W. A. (2009). Pattern and Growth in Personality. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Kularb Mallikamas. (2009). Literary Criticism. Bangkok: Aksorn Chareontat.

Porntada Suvattanavanich. (2005). Motherhood in Thai novels in three decades. Thai Humanities Research Forum. Bangkok: The Thailand Research Fund

Runruthai Satchaphan (2013). Contemporary literature. (18th ed.). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press.

Siradis Thammacharoen. (1984). “Rueang Ni Kiaokap Pho”. Mother and Child, 7(134): 76-79.

Sri-Ruen Keawkungwal. (2011). Personality Psychology Theory. (16th ed.). Bangkok: Moh-Chao-Ban.

Thai Home Economics Association. (1981). Family Relationships. Bangkok: Thai Home Economics Association under the Royal Patronage of Her Majesty the Queen.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2552). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

เฉลียว บุรีภักดี และคนอื่น ๆ. (2526). พ่อในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติปี 2525 และ 2526.

โบตั๋น (นามปากกา). (2544). ยายหนูลูกพ่อ. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พรธาดา สุวัธนวนิช. (2548). ความเป็นแม่ในนวนิยายสามทศวรรษ. เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2556). วรรณกรรมปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา รู้เขา). (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

ศิรดิส ธรรมเจริญ. (2527). “เรื่องนี้เกี่ยวกับพ่อ”. แม่และเด็ก, 7(134): 76-79.

สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2524). ครอบครัวสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์.