รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

Main Article Content

คมเดช มัชฌิมวงศ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินการใช้รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ มีกระบวนการวิจัย 2 ระยะ ดังนี้
   ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ เป็นขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุที่เป็นเลิศ 4 ชมรม ได้แก่ 1) ชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาแก้ว 2) ชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาพระบาท 3) ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพิปูน 4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนาใหม่ ผลการประเมินจากการนำรูปแบบไปใช้โดยภาพรวมอยู่ที่ ระดับมาก( = 4.44, S.D.=0.20)
   ในการวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการนำรูปแบบที่ผ่านการประเมินผลในการวิจัยระยะที่ 1 มาใช้จริงในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยในระยะนี้พบว่า ระดับความพึงพอใจของการใช้รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.60, SD=0.23) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจ (อาชีพ) ของรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุอยู่ในระดับที่มีความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.98, SD=0.14) สิ่งอำนวยความสะดวกของรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุอยู่ระดับที่มีความพึงพอใจรองลงมา ( =4.94,SD=0.24) และด้านนันทนาการรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุอยู่ในความพึงพอใจอันดับสุดท้าย ( =3.58,SD=0.73)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kriangsak Honngam. 2008. Need on Social Welfare of old age , Case study : Phen Local Administration Organization, Udonthani Province. Independent Study Report of Master of Public Administration, Local Government College of Local Administration, Khon Kean University.

Thassawan Pantasean and Kusaya Leerahawong. 2008. The Development of Elderly Social Welfare in Thanyaburi Municility Thanyaburi Pathumthani. RMUTT Global Business and Economics Review 8 (2): 215 – 231.

Kanita Khongbanthat. 2013. The Study of Elderly Welfare needs from Local Governments in Banhad Municipality Banhad distric, Khon Kean Provinces. Independent Study Report of Master of Public Administration, Local Government College of Local Administration, Khon Kean University.

Jarinporn Noosom. 2010. Provision of welfare for elderly in Rommuang Municipality, Muang District, Phatthalung Province. Independent Study Report of Master of Public Administration, Local Government College of Local Administration, Khon Kean University.

Ramphan Sirichanthanan. 2012. Quality of life and Elderly Welfare Provision at Nongpueng Sub-district, Sarapee District, Chaingmai Province. Independent Study Report of Public Administration in Government and Private Organization Administration. Office of Academic and Administration and Development, Maejo University.

Sawat Intisang. 2010. Model’s of Elderly Social Welfare of Phanompai Municipality Phanompai district, Roi-Et Province. Independent Study Report of Master of Public Administration, Local Government College of Local Administration, Khon Kean University.

Office of the National Economic and Social Development Council. 2013. Population projections for Thailand 2010-2040. Bangkok : Duean Tula printing.

Ulrich Zachau. 2016. Elderly society in Thailand - How to live to be prosperous and sustainable. http://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/th/aging-in-thailand-how-to-live-long-and-prosper. 14 December 2016.

เกรียงศักดิ์ หอนงาม. 2008. ความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : องค์การบริหาส่วนตำบลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทัศน์วรรณ พันธเสน และกุศยา ลีฬหาวงศ์. 2008. การพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลธัญบุรี : ในเขตเทศบาลตำบลธัญบุรี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ 8 (2): 215 – 231.

ขนิษฐา คงบรรทัด. 2013. ความต้องการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จรินทร์ภรณ์ หนูสม. 2554. การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลร่มเมือง จ.พัทลุง .รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รำพรรณ ศิริจันทนันท์. 2012. คุณภาพชีวิตและการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ : ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิระวัฒน์ กอศิริวลานนท์. 2011. ความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเขตอุดมศักดิ์ . รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สวัสดิ์ อินธิแสง. 2010. รูปแบบการให้บริการสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2013. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพ :โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Ulrich Zachau. 2016. สังคมสูงวัยในประเทศไทย – ใช้ชีวิตอย่างไรให้มั่งคั่งและยั่งยืน. http://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/th/aging-in-thailand-how-to-live-long-and-prosper. 14 ธันวาคม 2016.