ถอดบทเรียนการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานยอดนิยมกรณีศึกษาโรงเรียนลูกรักเชียงของ

Main Article Content

จุมพล แกล้วกล้า

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้เป็นการถอดบทเรียน การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานยอดนิยม:กรณีศึกษาโรงเรียนลูกรักเชียงของ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการที่ทำให้เป็นโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานยอดนิยม กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้บริหารทั้งหมดและครูจำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเรียนรู้หลังการดำเนินงาน (Retrospect) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เป็นโรงเรียนเอกชนขั้นพื้นฐานยอดนิยม สังเคราะห์ออกมาเป็นโมเดล 4(A-B-C-D-E)โดยมีรายละเอียดดังนี้
   4 A : Attention - Aim – Attempt – Achievement ผู้บริหารต้องมีความตั้งใจ(Attention) ที่จะทำโรงเรียนเอกชนโดยมีเป้าหมาย(Aim) เพื่อเป็นโรงเรียนแห่งคุณภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างโรงเรียนเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครอง และมีความพยายาม(Attempt)ที่จะทำให้โรงเรียนมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเทียบเคียงโรงเรียนเอกชนที่มีมาตรฐาน นำศักยภาพและโอกาสอันกว้างไกลมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมและสร้างสรรค์ให้ครูและนักเรียนมีการพัฒนาคุณภาพเพื่อสัมฤทธิ์ผล (Achievement)ที่สูงขึ้น อันจะเป็นการประกันคุณภาพของโรงเรียนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง 4 B : Brand position - Build mind – Benchmarking – Budgeting ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีเป้าหมายในการวางตำแหน่งของโรงเรียน (Brand position) ให้อยู่ในระดับชั้นนำของจังหวัด ซึ่งต้องสร้างแรงบันดาลใจ(Build mind)กระตุ้นครูและนักเรียนให้เกิดความกระตือรือร้นมองเป้าหมายเดียวกันโดยเสียสละเวลา ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงาน และเทียบเคียง(Benchmarking)คุณภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน และนำสิ่งที่ครูและนักเรียนได้รับกลับมาพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนต่อไป โดยผู้บริหารต้องจัดงบประมาณ(Budgeting)สนับสนุนในการทำกิจกรรมดังกล่าวเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการมุ่งสู่เป้าหมายที่สูงยิ่งขึ้น 4 C : Competition- Change - Critical – Customer ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ในการที่จะทำให้โรงเรียนก้าวไป
   ข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและมีศักยภาพในการแข่งขัน(Competition)ที่เร่งรัดจากกระแสการเจริญโตอย่างก้าวกระโดด ผู้บริหารต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง(Change)โรงเรียนไปสู่สิ่งที่ทำให้มีคุณภาพดีกว่า โดยเฉพาะในสภาวะการที่ต้องใช้ความกล้าหาญอดทนและเสียสละต่อการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต (Critical)เพื่อให้นักเรียนหรือผู้ปกครองที่เปรียบเสมือนลูกค้า(Customer)รู้สึกถึงความมั่นใจในผู้บริหารอันจะนำไปสู่ความประทับใจของผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนก่อเกิดเป็นความศรัทธาและความจงรักภักดีเป็นพลังที่เข้มแข็งต่อไป 4 D : Differentiation - Design–Development– Demand ผู้บริหารต้องสร้างอัตลักษณ์ของนักเรียนและเอกลักษณ์ของโรงเรียนเพื่อสะท้อนถึงความแตกต่าง(Differentiation)ที่ไม่สามารถจะหาได้จากโรงเรียนอื่น โดยการออกแบบ(Design)เพื่อให้เกิดการพัฒนา(Development)การบริหารจัดการโรงเรียนสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการ (Demand)ในคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้ปกครองและนักเรียน 4 E : Excellence – Evaluation - Empowerment - Engagement ผู้บริหารต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการนำโรงเรียนไปสู่คุณภาพความเป็นเลิศ(Excellence)โดยเน้นการประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม(Evaluation)เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะทำให้รู้ศักยภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีการมอบอำนาจหน้าที่เพื่อให้เกิดการสร้างแรงจูงใจ(Empowerment) และนำไปสู่ความรู้สึกผูกพัน(Engagement) ที่จะทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Forehand, G. A. and Gilmer, B. (1964). Environmental Variation in Studies of Organizational
Behavior.Psychology Belletin. 61: 361-381

Hammer, Michael. (1994). Reengineering The Corporation: Scriptures for business
revolution. Bangkok: Khookang books.

Kotler,Phillip. 2000. Marketing Management. The Millennium Edition. New Jersey: Prentice
Hall,inc.

Kwanta Kuekulrat. (2011). Transformational leadership affecting the effectiveness of
medium-sized schools. Bangkok: Master of Education, Rajamangala University of
Technology Thanyaburi.

Office of the Private Education Commission. (2550). Problems and obstacles in Private
Educational Management. Data preparation text note. Policy and plan. Bangkok.

Omaree Suwannasri. (2010). Development of empowerment strategies for private school
teachers. Ph.D. Educational Administration. Chulalongkorn University.

Paitoon Sinlarat. (2010). Creative and productivity leaders: Paradigms and new leaders in
education. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.

Viroj Sanrattana. (2010). Three-dimensional school administrators, professional
development to become effective executives. Faculty of Education Khonkaen University.

Wirat Sanguanwongwan. (2003). Management and Organization behavior. Bangkok:
H.N. Group.

ขวัญตา เกื้อกูลรัตน์. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง.
กรุงเทพมหานคร: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโยยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์และผู้นำใหม่ทางการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2546). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : เอช.เอ็น.กรุ๊ป.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียนสามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผล.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2550). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษา
เอกชน. บันทึกข้อความการจัดทำข้อมูล. กลุ่มงานนโยบายและแผน.กรุงเทพมหานคร.

อ้อมอารี สุวรรณศรี. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การเสริมพลังอำนาจครูโรงเรียนเอกชน. ดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แฮมเมอร์,ไมเคิ่ล. (2537). รีเอนจิเนียริ่ง เดอะคอร์เปอร์เรชั่น: คัมภีร์เพื่อการปฎิวัติธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร:
คู่แข่งบุ๊คส์.