แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูศูนย์การเรียนชุมชน

Main Article Content

เนาวเรศ น้อยพานิช

บทคัดย่อ

   การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูศูนย์การเรียนชุมชน เป็นการวิจัยและพัฒนา โดย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพสมรรถนะที่จำเป็นของครูศูนย์การเรียนชุมชน 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะของครูศูนย์การเรียนชุมชน 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมสมรรถนะของครูศูนย์การเรียนชุมชน ดำเนินการวิจัย โดยใช้กระบวนการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์และสังเคราะห์ด้วย เทคนิคเดลฟาย โดยการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และมีส่วนเกี่ยวข้อง ในเรื่อง สภาพสมรรถนะที่จำเป็นของครูศูนย์การเรียนชุมชนและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูศูนย์การเรียนชุมชน จากนั้นนำไปสอบถามครูศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของสมรรถนะ ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด และต้องการพัฒนาสมรรถนะใด แล้วส่งความต้องการการพัฒนาของครูศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ และเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชน ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพ
   ผลการวิจัย พบว่า สภาพสมรรถนะที่จำเป็นของครูศูนย์การเรียนชุมชน 5 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะหลักของครูศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม สมรรถนะด้านความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะด้านภาวะผู้นำ 2) สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ของครูศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วย 2 สมรรถนะ คือ สมรรถนะด้านวิชาชีพและสมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ 3) สมรรถนะส่วนบุคคลของครูศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วย 2 สมรรถนะ คือ สมรรถนะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และสมรรถนะในงานส่วนบุคคล 4) สมรรถนะในงาน/กิจกรรมของครูศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วย 2 สมรรถนะ คือสมรรถนะด้านการวางแผนงาน และสมรรถนะด้านงาน / การจัดกิจกรรม 5) สมรรถนะต่อองค์กรของครูศูนย์การเรียนชุมชน ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ คือ สมรรถนะต่อองค์กรด้านการปฏิบัติหน้าที่ สมรรถนะต่อองค์กรด้านงบประมาณ/ วัสดุ / ครุภัณฑ์ และสมรรถนะต่อองค์กรในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันขององค์กร
   จากนั้นนำไปตรวจสอบความเหมาะสมสมรรถนะของครูศูนย์การเรียนชุมชน ทั้ง 5 ด้าน จากการสอบถามครูศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 64 คน จาก 9 อำเภอ ของจังหวัดสระแก้ว พบว่า ความเหมาะสมสมรรถนะของครู ศูนย์การเรียนชุมชน ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับ เหมาะสมที่สุด และครูศูนย์การเรียนชุมชนมีความต้องการพัฒนา สมรรถนะ เรียงลำดับ 3 ลำดับ คือ สมรรถนะหลักของครูศูนย์การเรียนชุมชน สมรรถนะตามบทบาทหน้าที่ของครูศูนย์การเรียนชุมชน และสมรรถนะส่วนบุคคลของครูศูนย์การเรียนชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Civil Service Development Institute. (2003). Management courses: New public
administration. Bangkok: Arthit Products Group Co., Ltd.

McClelland, D.C. (1973). “Testing for Competence rather than for Intelligence,”
American Psychologist 28 (1), 1-14

Ministry of Education. (2002). National Education Plan. Bangkok: Printing and Shipping
Organization Printing.

Performance Project Team. (2005). Thai Civil Service Competency Handbook. Bangkok:
Civil Service Commission office.

Tauean Thongkaew. (1999). New administration. Chanthaburi: Rambhai Barni Rajabhat
University.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ
พัสดุภัณฑ์.

คณะทำงานโครงการสมรรถนะ. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

เทื้อน ทองแก้ว. (2542). การบริหารงานแบบใหม่. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2546). หลักสูตรการบริหารงาน:บริหารงานภาครัฐแนวใหม่.
กรุงเทพมหานคร: บริษัทอาทิตย์โพรดักส์ กรุ๊ป จำกัด.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2545). สมรรถนะในการบริหารงาน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.