การพัฒนากลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

เทพพนม ข่มอาวุธ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดพะเยา และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดพะเยา

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจำแนกรายกระบวนการในภาพรวมทั้งหมด อยู่ในระดับการมีส่วนร่วมน้อยและจากสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดพะเยา จำแนกรายกระบวนการคือกระบวนการตรวจสอบก่อน ระหว่าง และหลังการการเลือกตั้งโดยรวมอยู่ในระดับการมีส่วนร่วมปานกลาง 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชน ในจังหวัดพะเยาพบว่ากลยุทธ์ที่ได้คือกลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการยกระดับกระบวนการจัดทำแผนในการตรวจสอบการเลือกตั้งอย่างมีคุณภาพกลยุทธ์ที่ 2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมภายในกลุ่มองค์กร แกนนำและประชาชนในการมีส่วนร่วมแสดงพลังถอดถอนผู้สมัคร/ผู้แทน เมื่อมีการทุจริตและต้องถูกถอดถอน กลยุทธ์ที่ 3 การเสริมสร้างความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่น และกลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับการตรวจสอบ และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดพะเยาพบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของทุกเป้าประสงค์ที่ ประเด็นกลยุทธ์กลยุทธ์ และทุกมาตรการและตัวชี้วัดของการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดพะเยา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด

 

Development of Participatory Strategic Planning for Monitoring the Elections ofthe People in Phayo Province.

The objectives of this thesis were to 1) study the conditions and problems of participation with monitoring the elections of the people in Phayao province 2) to develop participation strategy planning for monitoring the elections of the people in Phayao province, and 3) to evaluate participation strategy planning for monitoring the elections of the people in Phayao province. The results showed that 1) all the processes on the participation of the people classified on each process were that the overall participation was at a low level. From the problems on the participation for monitoring the elections of the people in Phayao province on each classification were before, during and after the monitoring of the elections was that overall participation was at a medium level. 2)The results of the development of the participation strategy planning for monitoring the elections of the people in Phayao province Found that strategy 1, promote the upgrading on the planning process for monitoring the elections effectively. Strategy 2, the strengthening and participation within the groups of the mainstay organization and the people’s participation to have the power to removal candidates / representatives when corrupt behavior occurs. Strategy 3,enhancingsafety and local peace and strategy 4, to promote and support education in the use oftools and technologies to develop participation strategy planning for monitoring the elections.3) The evaluation of the participation strategy planning for monitoring the elections of the people in Phayao province found that the results of the appropriate, the feasibility and the benefits of all aim, strategy issue, strategy and all the measures and indicators of participation strategy planning for monitoring the elections of the people in Phayao province were mainly at the highest level.

Article Details

บท
บทความ