การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมที่มีผลต่อทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารและทักษะการคิดแกนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการบูรณาการทักษะการคิดแกน

Main Article Content

วิมลรัตน์ สารบุตร
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์
สุรศักดิ์ คำคง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการทักษะการคิดแกนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการทักษะการคิดแกนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นภาษาลาวและภาษาส่วย และ (4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ ที่บูรณาการทักษะการคิดแกน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นภาษาลาวและภาษาส่วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองเพดาน กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาสมอ-โพธิ์ศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวนนักเรียน 28 คน ซึ่งแบ่งเป็นนักเรียนที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นภาษาลาว จำนวน 13 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และนักเรียนที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นภาษาส่วย จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ 2 เนื่องจากนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้มีพื้นฐานทางด้านภาษาถิ่นในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการทักษะการคิดแกน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 11 แผน และแบบทดสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ ที่บูรณาการทักษะการคิดแกน ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด ได้แก่ แบบทดสอบทักษะการฟัง แบบทดสอบทักษะการอ่าน แบบทดสอบทักษะการเขียน และแบบทดสอบทักษะการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการทักษะการคิดแกนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 68.59/67.02 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ได้ตั้งไว้ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการทักษะการคิดแกน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.4951 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 49.51 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นภาษาลาวและภาษาส่วย ที่ได้รับการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่บูรณาการทักษะการคิดแกน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารเป็นภาษาลาวและภาษาส่วย มีความสามารถทางด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ ที่บูรณาการทักษะการคิดแกน ไม่แตกต่างกัน

 

A Comparative Study of Language and Cultural Differences Affecting English Communicative Skills and Core Thinking Skills of Pratomsueksa V Students Learning by Using CLT Activities Integrated with Core Thinking Skills.

This research aimed to 1) develop learning activities for developing English communication integrated with thinking skills of Pratomsueksa V students 2) study the effectiveness index of these learning activities in developing English communication skills of Pratomsueksa V students, 3) compare the differences between pretest and posttest of Prathomsueksa V students of Lao and Suay dialects. 4) compare the achievement in the four language skills of English communication integrated with thinking skills of Prathomsueksa V students of Lao and Suay dialects. Subjects for this study were 28 Prathomsueksa V students studying at Bannongpadan School, of the Samor-Phosri Educational Development School Cluster, Sisaket of Primary Education Service Area office 3; who were students of local dialects; because this two groups have the differences in language dialect backgrounds : 13 students of the Lao dialect as Experimental Group I, and 15 students of the Suay dialect as Experimental Group II. The instruments used in this research were 11 instructional plans of English Communication activities integrated with core thinking skills for Prathomsueksa V students; and 4 tests of language skills for English communication: listening test, reading test, writing test and speaking test. The statistics used in analyzing data were percentage, mean, and standard deviation; while hypotheses were tested using t-test (Dependent Samples) and t-test (Independent Samples)

Findings of the study revealed that: 1). The efficiency index of the instructional plans for developing English communication skills integrated with core thinking skills was 68.59/67.02, which was lower than the established criteria of 70/70. 2). The effectiveness index was 0.4951; showing that the students had learning progress at 49.51 percent. 3). There was a significant difference between pretest and post-test average achievements in language skills of Prathomsueksa V students of Lao and Suay dialects at the .05 level. And 4). There was not significant different in abilities in English communication skills integrated with core thinking skills of Prathomsueksa V students of Lao and Suay dialects.

Article Details

บท
บทความ