การพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: ศึกษากรณี ชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรร

Main Article Content

วรภพ วงค์รอด

บทคัดย่อ

การพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: ศึกษากรณีชุมชนวัฒนธรรมไททรงดำบ้านหนองเนิน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิควิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เลือกพื้นแบบเจาะจง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยมีประชากรในการวิจัยเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ประกอบด้วย ผู้บริหารและสมาชิก สภา อบต. ผู้นำท้องที่ สภาวัฒนธรรมตำบลและอำเภอ ครูและนักเรียน ผู้อาวุโสและแกนนำชุมชน จำนวน 29 คน ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เจาะลึก และแบบบันทึกจากการประชุมแบบมีส่วนร่วม การอบรมเชิงปฏิบัติการ สนทนากลุ่ม เวทีประชาคม ศึกษาดูงาน และนำร่องกิจกรรมการท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ด้านพื้นที่มีศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น บ้านจำลองไททรงดำ เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น มีโรงเรียนบ้านหนองเนินต่อยอดกิจกรรมและหลักสูตรท้องถิ่น ด้านกิจกรรมมีการสืบทอดขนบประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน ความเชื่อ ภาษา การแต่งกาย ภูมิปัญญาท้องถิ่นและกลุ่มอาชีพที่มีเอกลักษณ์ ด้านการจัดการตามคุ้มบ้านอาศัยฐานทรัพยากรและผู้นำ และด้านการมีส่วนร่วมมีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้นำ แกนนำชุมชน องค์กรท้องถิ่น สถานศึกษา ส่วนราชการในกิจกรรมของชุมชน ในส่วนศักยภาพชุมชนแกนนำมีการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ด้านวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ตระหนักคุณค่าทรัพยากร สืบสานประเพณีและวัฒนธรรม ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ การอบรมเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีส่วนร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมชุมชนต่อเนื่อง สำหรับการพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนวัฒนธรรม  การจัดตั้งคณะทำงานในชุมชน การประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและเครือข่าย การจัดระบบข้อมูลข่าวสาร การจัดภูมิทัศน์ชุมชน พัฒนาศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้าน การจัดตั้งกองทุนชุมชนวัฒนธรรมและนำร่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

The Development Approach for Cultural Tourism Management: A Case Study on Thai Zong Dam Community in Ban Nong Noen, Nakhon Sawan Province

This study is a qualitative research using participatory technique. Thai Zong Dam community in Ban Nong Noen, Tha Tako district, Nakhon Sawan province was purposively selected as the community under the study. The objectives were to study about the potentials and ways of local cultural tourism management of the community. The 29 key informants comprised executives and sub-district administrative organization council members, local leaders, sub-district and district cultural council chairpersons, teachers, students, senior people and community leaders. Questionnaires, an in-depth interview form and a participatory meeting recording form were used. Trainings and workshops, focus group discussions, public forums, study visits, and pilot tourism activities were held.

It was found that potentials for cultural tourism management of Thai Zong Dam community in organizing cultural tourism are due to having the local cultural center called Ban Chamlong Thai Zong Dam as a community learning resource about local cultural ways; having Ban Nong Noen school to work on local curriculum and related activities for passing on local customs, traditions, folk plays, beliefs, language, clothing and local wisdom specific to their identity. Management in each household group is based on its resource and the leader. For participation aspect, coordination and cooperation have been made among leaders, community leaders, local organizations, schools, government agencies in doing community activities. For community potentials, the leaders have learned about community ways of life in the aspects of culture, traditions and local wisdom of local identity. There have been improvement and development of learning resources. Their awareness in values of resources of the community are shown by inheriting and passing on their customs and traditions as well as local wisdom.  Study visits to prototype communities in cultural tourism management have been made. There have been trainings on cultural tourism management and learning about community activities continually for cultural tourism management. The development approach for cultural tourism management includes making a cultural community development plan, setting up a working group in the community, seeking cooperation with community leaders, community organizations, sub-district administrative organization and network, information system setting up, community landscaping, local cultural center developing, setting up a cultural community fund, and piloting  cultural tourism.

Article Details

บท
บทความ