รูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ศิรินันท์ หล่อตระกูล
วัชรินทร์ สุทธิศัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์รวมถึงข้อเสนอแนะ ต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และเพื่อให้ได้รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน174 คน  โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster) และกลุ่มเป้าหมายการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 18  คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression)  โดยวิธี  Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01  ผลการวิจัย  พบว่า


  1.       ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก (การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี) ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย  ด้านมาตรการการควบคุมประเมินผล  ด้านลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และด้านสมรรถนะขององค์การ                

  2.          ความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน  พบว่าอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน  เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาคนและสังคม ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้านการส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาองค์กรและพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด   

  3.       สมการพยากรณ์เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์  จากการวิจัยเชิงปริมาณคือ ด้านลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติด้านสมรรถนะขององค์การ  และด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย สามารถทำนายผลได้ร้อยละ 72.8  ดังนั้นสมการทำนายเขียนได้  ดังนี้

            Y =  1.089 +.616X2+ .556X4 +.230X1


  1.        รูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จากการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ คือ 1) ด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย  2) ด้านลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ  3) ด้านสมรรถนะขององค์การ  และ 4) ด้านการติดตาม ควบคุม และประเมินผล    

  2.       ข้อเสนอแนะของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีค่าความถี่สูงสุดแต่ละด้าน ปรากฏดังนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ควรจัด อบรมความรู้เรื่อง นโยบายสาธารณะให้กับนักการเมืองท้องถิ่นและผู้นำชุมชน  หน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ควรมีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และมีการบริหารจัดการที่ทันสมัย ควรมีระบบการประสานงานที่เป็นระบบและชัดเจน  ควรปรับโครงสร้างขององค์การให้เหมาะกับงานที่ปรับเปลี่ยน เช่น ด้านการศึกษา ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานจากความคิดเห็นจากประชาชน และควรนำปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ประกอบการกำหนดนโยบาย

Article Details

บท
บทความ

References

กล้า ทองขาว. (2534). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา
นโยบายการรณรงค์เพื่อการู้หนังสือแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, กรุงเทพฯ : สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชำนาญ มั่นดี, ยุทธพงศ์ จาดยางโทน และสมคิด คำแหง. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ตามมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าภาครัฐ ของสถาบันอุดมศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิทยานิพนธ์ รป.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทรงพล เครือคำหล้า. (2550). ความคิดเห็นของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วน
ตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค่า อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ รป.ม.
ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มยุรี อนุมานราชธน. (2554). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ธรรมกมลการพิมพ์.

วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัย
ไทย.

วัชรินทร์ สุทธิศัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีปทุม.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. (2556). แผนพัฒนา 3 ปี. กาฬสินธุ์: องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์.

อุดม ทุมโฆสิต. (2551). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ : บทเรียนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ : แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.

Anderson, J.E. (1985) “From idea to action : Notes for a contingency theory of the policy Implementation Process,”
Administration & Society. 16(14) : pp.5-6 February.

Sabatier, Paul and Mazmanian, Daniel. (1980). “The Implementation of Public Policy : A Framework of Analysis”.
Policy Studies Journal Contents. Special Issue.