ผลของการใช้วิธีการ PAW เพื่อแก้ปัญหาการเขียนและความเข้าใจต่อบทเรียน ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษที่เรียนรายวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น

Main Article Content

ซิมมี่ อุปรา
สมลักษณ์ เลี้ยงประยูร
สุดารัตน์ พญาพรหม
ณัฏฐพล สันธิ
ศรชัย มุ่งไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องผลของการใช้วิธีการ PAW เพื่อแก้ปัญหาการเขียนและความเข้าใจต่อบทเรียนของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษที่เรียนรายวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของของการใช้วิธี PAW ในการพัฒนาทักษะการเขียนงานด้านภาษาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้นจำนวน 112 คน มีวิธีการเก็บข้อมูลสองประเภทคือ ข้อมูลเชิงปฏิบัติการและข้อมูลเชิงทัศนคติ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลคือให้นักศึกษาทำกิจกรรมการตอบคำถามท้ายบทจำนวนสองบทโดยใช้วิธีการ PAW ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ในส่วนของการเก็บข้อมูลเชิงทัศนคติของผู้เรียน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์รูปแบบทางความหมาย (Pattern Analysis) ที่ปรากฏในบันทึกของนักศึกษา และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่าเมื่อนำเทคนิควิธีการ PAW ไปใช้ในการทำกิจกรรมแล้วได้ผลดังนี้ ประเด็นข้อผิดพลาดพบว่างานเขียนของนักศึกษามีข้อผิดพลาดน้อยลงทั้งจำนวนของข้อผิดพลาดและประเด็นของข้อผิดพลาดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ประเด็นด้านข้อผิดพลาดในงานเขียนพบว่างานเขียนของนักศึกษาก่อนใช้กิจกรรม PAW มีข้อผิดพลาดที่สามารถจำแนกประเภทได้จำนวน 4 ประเภทดังนี้คือ ข้อผิดพลาดเชิงเทคนิค ข้อผิดพลาดเชิงการเขียนตอบตามแนวภาษาศาสตร์ ข้อผิดพลาดเชิงการเขียน และข้อผิดพลาดเชิงความรู้ความคิด หลังจากที่ได้มีการใช้เทคนิควิธีการ PAW แล้ว ไม่ปรากฏข้อผิดพลาดเชิงเทคนิคแต่อย่างใด ในขณะที่ข้อผิดพลาดอื่นๆลดลง   ด้านของทัศนคติและความรู้สึกที่มีต่อการใช้วิธีการ PAW ในการทำกิจกรรมพบว่าผู้เรียนมีทัศนคติและความรู้สึกที่ดีต่อการใช้วิธีการ PAW ในการทำกิจกรรม มีการทำกิจกรรมและตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีผู้ร่วมคิดและระดมความคิด มีความสนุกสนานกับการเขียนงานมากขึ้น ใช้เวลาในการทำงานน้อยลง ไม่เกิดความเครียดหรืออาการท้อในระหว่างการทำงานหรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย

Article Details

บท
บทความ

References

Ellis, R. (1994). The Study of Second Language Acquisition. Oxford UK: Oxford University Press.

Grabe, W., and F.L. Stoller. (1997). Content-Based Instruction: Research Foundations. In Snow, and Brinton (Eds.) The Content-Based Classroom. Perspectives on Integrating Language and Content. Longman: New York: pp. 5-21.

Lightbrown, P.M., & N. Spada. (2006). How Languages Are Learned. Oxford University Press.

Sowden, C. (July, 2005). Plagiarism and the Culture of Multilingual Students in Higher Education Abroad. ELT Journal. 59:3. Pp. 226-233.

Tachom, K. (2008). Using Peer Error Analysis to Promote Students’ Writing Achievement at Naresuan University Phayao Campus. English Department, School of Liberal Arts, Naresuan University Phayao.