วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจัดงานศพที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูศรีรัตนากร -

บทคัดย่อ

   งานวิจัยเรื่องวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจัดงานศพที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อและพิธีกรรมการจัดงานศพ 2) เพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรมการจัดงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปริศนาธรรมการจัดงานศพในพระพุทธศาสนา
   ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีจัดงานศพมีมาแต่โบราณ มีสาระสำคัญ 4 ประการ ประการแรก คือ “รวมญาติ เป็นการจัดงานศพที่ต้องเตรียมการหลายอย่าง โดยระหว่างเตรียมการต้องส่งข่าวไปถึงญาติพี่น้อง มิตรสหายเกี่ยวกับกำหนดการและสถานที่ ทำให้ญาติได้มารวมตัวกันและแสดงความห่วงใยกัน ประการที่สอง “ประกาศความดี” คือการกล่าวถึงประวัติผู้ตายว่ามีคุณความดีอะไรบ้าง มีความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างไร ประการที่สาม “สร้างบุญบารมี” คือการทำบุญอุทิศให้ผู้ตายเป็นเสบียงติดตัวไปในภพหน้า เป็นการเพิ่มบุญบารมีที่ทำมาก่อนแล้วของผู้ตาย และเป็นการสร้างบุญบารมีของลูกหลานเองด้วย ประการที่สี่ “ทำหน้าที่ของความเป็นคน” โดยการจัดงานศพเป็นการให้เกียรติกับผู้ตาย ส่วนปริศนาธรรมมัดตราสังข์สามเปราะ มัดที่คอ หมายถึง บ่วงรักลูก มัดที่มือ หมายถึง บ่วงรักสามี - ภรรยา มัดตรงข้อเท้า หมายถึง บ่วงรักทรัพย์สมบัติ สำหรับการเวียนซ้าย 3 รอบ หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสามอันมี กามภพ รูปภพ อรูปภพ ด้วยอำนาจกิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็จะเป็นทุกข์ไม่จบสิ้น เป็นการสอนธรรมชั้นสูง จึงได้พาศพเวียนซ้าย ตลอดจนถึงการใช้น้ำมะพร้าว ล้างหน้าศพ เพื่อชี้ให้เห็นว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ผู้เข้าสู่มรรคผลนิพพาน ต้องชำระจิตให้สะอาดด้วยน้ำทิพย์จากพระธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). 2008. Guide life. Bangkok : Pimsuay.

Phra Dusadee Mathonguro. 2001. Concept of Death in Buddhadasa Bhikku’s View. Bangkok : Komolkeemthong Foundation.

Prangthong Deewong. 2001. Funeral tradition of Thai Renu Nakhon, Renu Nakhon District, Nakhon Phanom Province. Master of Arts thesis, Mahasarakham University.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2008. คู่มือชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์สวย.

พระดุษฎี เมธงฺกโร. 2001. ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกฺขุ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ปรางทอง ดีวงษ์. 2001.“ รูปแบบประเพณีงานศพของชาวผู้ไทยเรณูนคร อําเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม”, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.