การพัฒนาศักยภาพแกนนำในการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน

Main Article Content

รุ่งทิวา ใจจา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแกนนำในการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน   2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อศักยภาพของแกนนำในการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน และ3) เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำในการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชนที่เหมาะสม  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามศักยภาพแกนนำในการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน ซึ่งได้จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 345 ราย ผลการศึกษาเป็นดังนี้

ผลการศึกษาพบว่า แกนนำชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.หรือเทียบเท่า มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน มีอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ย 22,245 บาทต่อเดือน เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดำรงตำแหน่ง 1 ตำแหน่งในชุมชน เป็นสมาชิกกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน มีประสบการณ์การเป็นสมาชิกในองค์กรเฉลี่ย 7 ปี  ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ  มีลักษณะผู้ให้คำปรึกษาระดับมาก ได้รับข่าวสาร 23 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมเรื่องยาเสพติด และมีความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอยู่ในระดับระดับปานกลาง

จากการศึกษาศักยภาพแกนนำชุมชน ด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการให้คำปรึกษาเบื้องต้นระดับปานกลาง ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับมาก ทักษะการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชนระดับมาก และการรับรู้บทบาทของแกนนำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับมาก

ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพแกนนำด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการให้คำปรึกษาเบื้องต้น ประกอบด้วยปัจจัยด้านการศึกษา สถานภาพ และการมีลักษณะผู้ให้คำปรึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแกนนำด้านทัศนคติในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนประกอบด้วยปัจจัยด้านเพศ  ตำแหน่งในชุมชนและการมีลักษณะผู้ให้คำปรึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแกนนำด้านทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้นประกอบด้วยปัจจัยการศึกษา สถานภาพ การเป็นสมาชิกองค์กรในชุมชน การมีลักษณะผู้ให้คำปรึกษา การได้รับการฝึกอบรมและความคาดหวังในความสามารถของตน ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแกนนำด้านการรับรู้บทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนประกอบด้วยปัจจัยการเป็นสมาชิกองค์กรในชุมชน  การมีลักษณะผู้ให้คำปรึกษา และความคาดหวังในความสามารถของตน

การพัฒนาศักยภาพในการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน โดยการฝึกอบรม และการประเมินผลหลังการฝึกอบรม  เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างศักยภาพก่อนพัฒนาและศักยภาพหลังพัฒนาการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน พบว่า ศักยภาพก่อนพัฒนาและศักยภาพหลังพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ค่าเฉลี่ยของศักยภาพหลังพัฒนาสูงกว่าค่าเฉลี่ยของศักยภาพก่อนพัฒนาทุกด้าน และรูปแบบการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดเบื้องต้นในชุมชน ที่ได้จากการสนทนากลุ่ม พบว่า แกนนำชุมชนต้องอาศัยการมีจิตอาสา มีความเข้าใจในชุมชน และมีความร่วมมือของแกนนำและเครือข่าย ทำให้เกิดพลัง เพื่อการบูรณาการให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

The Potential Development of Community Leaders on Basic Counseling in Drugs Problem

The objectives of this study were to: 1) explore competence of community leaders on basic counseling in drugs problem; 2) investigate factors related to competence of community leaders on basic counseling in drugs problem; and 3) strengthen competence of community leaders on basic counseling in drugs problem. An interview was used for data collection from a sample group of 345 community leaders in Mea Rim District of Chiang Mai Province. The results were as follows.

Finding showed that most of the informants were female, aged 48 years old, graduated senior high school, and married. They were employed with a monthly income of 22,245 baths on average. They were health volunteers, held one position in community administration, members of the village fund group, and seven years of service on average, but did not receive any support from other sources. However, they were high characteristic of being a counselor, and received drugs news 23 times per year. Even though most of them did not attend training on drugs, they expected self-capability in preventing and solving drug problems within community at a moderate level.

Competence of community leaders who were informants, it was revealed that knowledge on narcotics and basic counseling was a moderate level; attitude toward preventing and solving drug problems was a high level; skills for basic counseling on problems of drugs in the community were high levels; and role perception of community leaders in preventing and solving drug problems was a high level.

Multiple regressions indicated that factors affecting competence of community leaders on knowledge of drugs and basic counseling were education, status, and characteristics of being a counselor; factors affecting competence of community leaders on attitude toward preventing and solving drugs problem were sex, position, and characteristics of being a counselor; factors affecting competence of community leaders on basic counseling skills were education, status, membership in community groups, characteristics of being a counselor, training, and self-capability expectation of preventing and solving drugs problems in community; and factors affecting competence of community leaders on role perception of community leaders in preventing and solving drug problems were membership in community groups, characteristics of being a counselor, and self-capability expectation of preventing and solving drugs problems in community.

Strengthening competence of community leaders on basic counseling about drug problems in community: the training was provided; and evaluation after the training for comparing means of competence on basic counseling in drug problems within the community, between before and after training, was found that there was a significant deference in competence of community leaders between the prior training and the after training which means of all aspects were higher. Last but not least, the model for basic counseling on drug problems in community as a result of focus group discussion was mentioned that voluntary mind, understanding in community, and cooperation of community leaders and network were empowering integration for benefits of the community in preventing and resolving drug problems.

Article Details

บท
บทความ