นวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิ ภาคอีสานตอนกลาง

Main Article Content

สมศักดิ์ พรมเดื่อ
สัญญา เคณาภูมิ
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
รังสรรค์ สิงหเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง และเพื่อสร้างรูปแบบนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง จำนวน 222 แห่ง โดยคำนวณตามสัดส่วนแต่ละจังหวัด 4 จังหวัด (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์)เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) โดยโปรแกรมลิสเรล(LISREL) และสหสัมพันธ์เพียสัน และ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างรูปแบบนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมย่อย การวิพากษ์ การระดมสมอง โดยผู้เชี่ยวชาญ  นักวิชาการ และผู้บริหารท้องถิ่น ผู้กำกับดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 20 คน จากนั้นนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง และนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อประเมินยืนยันรูปแบบนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง

ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง โดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยด้านทุนเฉพาะบุคคล (0.29) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในนโยบาย (0.28) ปัจจัยด้านนโยบายเชิงพื้นที่ (0.21) และปัจจัยด้านการบริหารแบบบูรณาการ (0.20) ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. รูปแบบนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคอีสานตอนกลาง ได้แก่ 2.1 รูปแบบนวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะเชิงนโยบาย ประกอบด้วย การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการวางแผน  การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดสรรประโยชน์ การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การพัฒนาการร่วมบูรณาการ นโยบาย  การพัฒนารูปแบบแรงกดดันในพื้นที่ การพัฒนาวิสัยทัศน์ของนายก การพัฒนารูปแบบการเรียกร้องในพื้นที่ การสร้างเครือข่าย และการเรียนรู้องค์กรที่ประสบผลสำเร็จ

2.2 รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมนโยบายการบริการสาธารณะเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะตัวในการทำงาน การพัฒนาความเป็นผู้นำ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาเครือข่าย การพัฒนาเจตคติที่ดีต่อองค์กร การพัฒนาการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การพัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดรูปแบบองค์กรแบบผสม การบูรณาการเทคโนโลยี การพัฒนา การบริหารแบบกระจายอำนาจ การพัฒนาองค์กรสาธารณะท้องถิ่น การพัฒนาประชาธิปไตยชุมชน และการพัฒนาการสื่อสาร

 

The Public Service Policy Innovation  of Sub-district Administrative Organization in the Central Northeast of Thailand

This research aimed to study the development of the public service policy innovation of sub-district administrative organization and to establish the model of the development of the public service policy innovation of sub-district administrative organization in the central northeast of Thai Land. The research methodology was divided for 2 phases; phase 1; to study the factor influenced the development of the public service policy innovation of sub-district administrative organization. The sample was 222 of the sub-district administrative organization in the central northeast of Thai Land, they were selected by proportion each province. The instrument was questionnaire. The statistics were the Pearson Product Moment Correlation and the  Structural equation modeling (SEM) with LISREL programs. Phase 2;  to establish the development of the public service policy innovation of sub-district administrative organization. The target population was 20 people consist of the expert in public policy, the academician, the Local government executive. Data collected by the workshop brain storming, and then to confirm the model by the Connoisseurship.  

The research results were found as follows;

1. The factors influenced the development of the public service policy innovation of sub-district administrative organization were the individual human capital (0.332), the policy participation (0.301), Transformational Leadership (0.006) by statistical significant at .05 levels.

Moreover, the quality research found an additional factors;  the decentralization and the supported by central government.

2. The model of the development of the public service policy innovation of sub-district administrative organization in the central northeast of Thai Land found that;

2.1 The policy model; the government should make the following policy; the decentralization of decision-making autonomy, the community democracy development, the development of effective, the effectiveness of public services, the distributed mission, the distributed budget, the resource distribution, the development capabilities and governance principles, the technology distribution, the distribution of benefits, the corporate Development local public, the develop independence in the administration.

2.2 The operation model; The sub district administrative organization should develop the following issues; the creativity of individuals, the participation in planning, the learning from successful organizations, the knowledge of leadership, the management network, the leadership, the knowledge and talents to work, the intellectual stimulation, the integrated policy, the participate in the evaluation, the inspire, the network building, the transformational leadership, the attitude towards the organization, the participation in practice, the involvement in the allocation of benefits, the influence ideally and the good communication.

Article Details

บท
บทความ