การสร้างชุดการสอนวิชาทฤษฏีดนตรีสากลเรื่องขั้นคู่และทรัยแอดโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำ

Main Article Content

ชนก วรรณกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากลเรื่องขั้นคู่และทรัยแอดโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำ และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน ระยะเวลาในการทดลองทั้งหมด 4 คาบ คาบละ 2 ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดการสอนวิชาทฤษฎีดนตรีสากล เรื่องขั้นคู่และทรัยแอดโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำประกอบไปด้วย เนื้อหาวิชา คู่มือการใช้ชุดการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบฝึกหัดประกอบกิจกรรม 2) แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำ ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้และนักศึกษามีความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนการสอนแบบแสดงการคิดเป็นถ้อยคำเท่ากับ 4.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 3.50 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

 

Creating Instructional Package Music Theory: Method for Teaching Intervals and Triads by Using a Think-aloud Technique

The aims of experimental research were to create and study the efficiency of the instructional package Music Theory : Method for Teaching Intervals and Triads by Using a Think-aloud Technique, and to investigate students’ satisfaction with the think-aloud technique. The sample group was 16 students, comprised of an experimental group 8 students and a control group 8 students. They participated in the class four times; two hours each time a total of 8 hours. There were research tools used in the study: 1) package Music Theory : Method for Teaching Intervals and Triads by Using a Think-aloud Technique(The instructional package included content about intervals and triads, instructional manual, lesson plans, and exercise activities.) 2) Mid-test and post-test. 3) The students’ satisfaction questionnaire. The results of the showed that the achievement of experimental group was higher than control group but not statistically significant. The hypothesis was confirmed. The average of student satisfaction towards the think-aloud technique was at 4.35, which was higher than expected (criteria of 3.50). Therefore, the hypothesis was confirmed.

Article Details

บท
บทความ