การพัฒนาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การศึกษาชั้นเรียน

Main Article Content

สุดาภรณ์ สืบสุติน

บทคัดย่อ

การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3และ2) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนในการจัดการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การศึกษาชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 2 คน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 4 คน และนักเรียนเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา จำนวน 42 คน ดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ทุกสัปดาห์ จำนวน 20 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมุดบันทึกพฤติกรรม เครื่องบันทึกภาพเคลื่อนไหว และกล้องถ่ายรูป และประเด็นสำหรับการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่ เพื่อหาข้อสรุปที่สามารถอ้างอิงได้ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีกระบวนการพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ระยะที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการครูเกี่ยวกับ แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ระยะที่ 3 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาชั้นเรียน และระยะที่ 4 ดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการศึกษาชั้นเรียน 2) ผลการศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาครู และนักเรียน ในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนพบว่าขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการจัดการเรียนรู้ บทบาทของผู้บริหารคือ 1. อำนวยความสะดวกสนับสนุนด้านแหล่งเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีต่างๆ 2. เสนอแนะความคิดเห็นและชี้แนะแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3. สร้างแรงจูงใจให้ครู บทบาทของครู คือ 1. ร่วมกันวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดและวางแผนการจัดการเรียนรู้ 2. เสนอแนะและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3. สร้างเครือข่ายในการทำงาน ขั้นตอนที่ 2 การนำแผนไปใช้ในชั้นเรียนและการสังเกตชั้นเรียนบทบาทนักเรียน คือ 1. ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่ครูมอบหมาย 2. วางแผน ออกแบบกิจกรรมและวิธีการเรียนรู้ของตนเอง 3. ร่วมกันทำกิจกรรมในกลุ่ม 4. นำเสนอผลงาน และ 5. แก้ไข/ปรับปรุงผลงานขั้นตอนที่ 3 การสะท้อนผลและสรุปผลการเรียนรู้บทบาทของผู้บริหาร คือ 1. สะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ให้ข้อสังเกตเสนอแนะและช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และ 3. ทำหน้าที่ประธานดำเนินการสะท้อนผลและสรุปสาระสำคัญเพื่อนำไปพัฒนาบทบาทของครู คือ 1. สะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ 2. สรุปผลการดำเนินการ


Development of  Teaching  Profession for Science Teachers to Enhance  Scientific Thinking Skills of  MathayomSuksa 3 Students Using Lesson Study

The purposes of the research were 1) to develop the learning and teaching activities management to enhance scientific thinking skills for Matthayom Suksa 3 students, 2) to examine the roles of school administrators, teachers and students in learning and teaching activities management using Lesson Study. All together there were 6 participants in the study including two school administrators and four science teachers, three of which taught at MatthayomSuksa1 ,Matthayom Suksa2 and Matthayom Suksa3 levels correspondingly and the other  individual taught at the Matthayom Suksa3 level. The research process involved collaborative lesson planning, classroom observations, post-lesson discussions and summaries on the students’ learning progress.In the study, only a teacher at Matthayom Suksa3 level implemented the lesson plans for a class of 42 students in the second term of the school year 2011 at Chaehomwitthaya School in Lampang Province. Research instruments were an essential set of tools used for teachers’ professional development, notably, a workshop handbook and lesson plans. The instruments for data collection included behavioral observation structure, topics for group discussions, motion and motionless picture cameras. As for data analysis, content analysis and classification were conducted and the inference was drawn accordingly. The results of the research study include the following:

1. The development of learning and teaching activities management to enhance scientific thinking skills for Matthayom Suksa3 students at Chaehomwitthaya School involved four stages: 1) hosting group discussions for the reflection on the teaching outcomes, 2) investigating the authenticity of the schools which successfully had used the Lesson Study, 3) organizing workshops outlining the learning and teaching activities management to enhance scientific thinking skills, Inquiry-based Learning and Lesson Study Approach, and 4) developing the learning and teaching activities management to enhance scientific thinking skills through Lesson Study.

2. Roles of school administrators, teachers and students in learning and teaching activities management through Lesson Study can be summed up as follows. In Stage1: Lesson Planning, school administrators’ 1) facilitate and support the teachers with learning and teaching resources like materials, equipment and media technology, 2) contribute to suggestions and guidelines about how to plan the lessons, and 3) motivate and encourage the teachers. As for the teachers, their roles include 1) collectively analyze learning standards/indicators and plan lessons, 2) share suggestions and opinions about teaching, and 3) initiate a Study Group network. In Stage2: Lesson Plans Implementation and Lesson Study, students are expected to 1) engage in the learning activities assigned, 2) form and design their own learning activities and styles, 3) participate actively in group work activities, 4) present their assignments/projects, and lastly 5) correct/adjust their tasks for improvement. In Stage3: Reflection on and Summary of Students’ Learning Progress, school administrators have three requirements 1) give feedback on teaching outcomes, 2) present comments and suggestions, as well as help solve the problems that occur, and 3) chair the meetings for post-lesson discussion for teaching improvement plans for the next lesson. As for the teachers, their roles are to 1) provide feedback on the teaching and 2) draw a conclusion on their performance.

Article Details

บท
บทความ