การพัฒนาระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วิชัย ชัยรินทร์
สุชาติ ลี้ตระกูล
จำรัส กลิ่นหนู
สมบูรณ์ ธรรมลังกา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาปัญหาและความต้องการการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย เพื่อพัฒนาและประเมินระบบ สารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจงแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ (System Development Life Cycle : SDLC) ในการพัฒนาระบบงานฐานข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน 92 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คนโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาปัญหาและความต้องการการนิเทศการศึกษาสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัญหาด้านการนิเทศของศึกษานิเทศก์และผู้บริหารมีปัญหาอยู่ในระดับมาก(\inline \dpi{80} \bar{X}= 3.41) ส่วนปัญหาด้านการนิเทศของครูมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง  (\inline \dpi{80} \bar{X}= 2.72)  การพัฒนาระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้สร้างและออกแบบระบบและเขียนโปรแกรมโดยใช้การออกแบบตารางฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบจากรูปแบบระบบ (System Design) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย ด้านการออกแบบโปรแกรม ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการสืบค้นข้อมูล และด้านการนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพมากที่สุด  และการประเมินระบบสารสนเทศการนิเทศการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพของผู้ใช้ระบบ ด้านประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ด้านการออกแบบ และด้านการสนับสนุนและให้บริการการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X}= 4.26)

 

Development of Web-based Educational Supervision System For Schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area, Chiang Rai Province

The objectives of this study were: 1) to investigate problems and needs of web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area;  2) to develop web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area; and  3) to evaluate web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Educational Service Area. Research procedures were:

Stage 1: Investigation of educational supervision problems and needs of schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area, the samples, recruited by purposive sampling, were 500 persons, Research instrument was questionnaire and the data was analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation.

Stage 2: Development of web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area based on System Development Life Cycle (SDLC) framework for database system. The samples, selected by purposive sampling, were 92 school administrators and teachers and educational. Research instrument was evaluation form assessing efficiency of web-based educational supervision system. Data analysis employed mean and standard deviation.

Stage 3: Evaluation of web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area, the samples, purposively selected, were 112 school administrators, teachers, and educational. Research instrument was questionnaire investigating satisfaction towards the developed web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area. Data analysis used mean and standard deviation.

The results showed that:

Problems and needs of web-based educational supervision system, problem on educational supervision of educational supervisors was found at the high level as well as that of school administrators(\inline \dpi{80} \bar{X}= 3.41). However, problem regarding educational supervision of teachers was found at the moderate level.

Development of web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area, the researcher designed and developed the web-based educational supervision system based on Relational Database Structure, experts were invited to evaluated to evaluate efficiency of the system based on System Design. The findings indicated that the developed web-based educational supervision system showed the highest level of efficiency in various aspects including system design, data storage, information retrieval, and data presentation.

Evaluation of the developed web-based educational supervision system for schools under Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area, the findings showed that users of system held the highest level of satisfaction in all aspects including efficiency of system users, benefits of the system, system design, and system support for users (\inline \dpi{80} \bar{X}= 4.26).

Article Details

บท
บทความ