ศักยภาพและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวและประชาชนในชุมชนลำปางหลวงจำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถามเพื่อถามนักท่องเที่ยวโดยการเลือกแบบบังเอิญ และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อสัมภาษณ์ประชาชนและผู้นำชุมชนผ่านกิจกรรมการเสวนากลุ่มย่อยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละรวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นด้านเห็นศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวงโดยรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ได้แก่ ด้านอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความสามารถในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสถานที่พักแรม ด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและด้านบริการเสริมอื่นๆ โดยเฉพาะทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตชุมชนที่น่าสนใจ มีการเดินทางที่สะดวกสบายสามารถเลือกเดินทางได้หลากหลายรูปแบบ

สำหรับแนวทางการจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของชุมชนลำปางหลวง พบว่าชุมชนมีความต้องการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวและมีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งองค์กรการท่องเที่ยวขึ้นในชุมชนโดยเปิดโอกาสให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวรวมไปถึงการร่วมรับผลประโยชน์จากการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน โดยร่วมกันหาแนวการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนลำปางหลวงจำนวน 2 เส้นทางคือเส้นทางที่ 1 เส้นทางการท่องเที่ยวนมัสการพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน สืบสานงานหัตถกรรมศิลป์ (โปรแกรมทัวร์ 1 วัน) เส้นทางที่ 2 เส้นทางการท่องเที่ยวนมัสการพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน เทศกาลงานแห่ครัวตาน (โปรแกรมทัวร์ 1 วัน)

 

Potential and Community-based Tourism Management Guidline of LampangLuang Community, KohKha District, Lampamg Province.

The purposes of this research were to study the tourism abilities and to find out the guidelines for community participation in tourism management of LampangLuang Community, LampangLuang Subdistrict, KoKha District, Lampang Province. The participants were 400 tourists and people who live in LampangLuang Community. The research instruments consisted of a questionnaire and an in-dept interview. The data obtained was analyzed for percentage, and the content analysis was also applied to this study.

The results of this research showed that there were 6 potentiality aspects of LampangLuang tourism community, which were the highest level, included attractions, accessibility, facilities, accommodations, tourism activities, and additional services. Most of people in the community believed that there were plenty of tourism resources, history, cultures, traditions and lifestyles of the community, and it was easy to visit to various attractions for  both Thai and foreign tourists.

Regarding the guidelines for community participation in tourism management, it was found that all sectors were required to take part both in decision making and specifying the tourism direction. 

There should also have a tourism organization in the community where local people were allowed to participate in planning and arranging activities as well as getting benefits from tourism community management. Moreover, the people found out how to manage the tourism at LampangLuang Community collaboratively; there were 2 tourism routes: 1) A one day trip to venerate the Buddha’s relics, learn community lifestyle, and conserve Buddha handicrafts. 2) A one day trip to venerate the Buddha’s relics, learn community lifestyle, and offering parade festival.

Article Details

บท
บทความ