นิเวศวิทยาของเสือปลาและการอนุรักษ์เสือปลาโดยการมีสวนร่วมของชุมชนในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ศุภากร ปทุรัตนาธาร
นริศ ภูมิภาคพันธุ์
โสวัตรี ณ ถลาง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และผลกระทบระหว่างวิถีชุมชนต่อการอยู่รอดของเสือปลา และสร้างแนวทางการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรเสือปลาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่ตำบลดอนยายหนู และตำบลเขาแดง อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับการศึกษาระบบนิเวศวิทยาของเสือปลา โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจงในชุมชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ในบริเวณพื้นที่ที่ศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการประเมินสภาพพื้นที่ร่วมกัน (Participatory Assessment) ด้วยเทคนิควิธีการประเมินสภาวะแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal) และนำมาวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน

ผลการศึกษาทางนิเวศวิทยาด้วยการเก็บข้อมูลโดยใช้กรงดักและกล้องดักถ่ายภาพ พบว่าด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด บริเวณนาข้าวและบ่อกุ้งในตำบลเขาแดงและตำบลดอนยายหนู อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ประมาณ 11.82 ตารางกิโลเมตร มีเสือปลาอยู่อาศัยใกล้หมู่บ้านมานาน พบประชากรของเสือปลาไม่น้อยกว่า 28 ตัว โดยพบว่าเสือปลาเพศผู้มีน้ำหนัก 9.5–13 กิโลกรัม มีอาณาเขตถิ่นอยู่อาศัย 1.56–2.28 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่เสือปลาเพศเมียมีน้ำหนัก 5.3–9.4 กิโลกรัม มีอาณาเขตถิ่นอยู่อาศัย 0.14–1.74  ตารางกิโลเมตร และจากการวิเคราะห์มูลเสือปลาในพื้นที่พบว่า เสือปลากินอาหารในกลุ่ม ปลา 24.9% นก 27.8% หนู 36.7% และ 10.6 เป็นสัตว์อื่น เช่น งู กบ หอย และปู ประกอบกับบางครั้งเสือปลาถูกยิงตายเนื่องจากเข้ากัดกินหรือรบกวนสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน เช่น ไก่ เป็ด และปลาในบ่อปลาของชาวบ้าน ซึ่งทำให้เป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านและนำไปสู่การขับไล่ และการฆ่าเสือปลา นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเกษตร และนากุ้ง รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อประชากรของเสือปลา และการสูญเสียถิ่นอาศัยโดยตรง ทำให้ประชากรเสือปลามีแนวโน้มลดลงจนอาจใกล้สูญพันธุ์ได้

จากการศึกษาข้อมูลส่วนชุมชนพบว่าการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของเสือปลาต่อประชาชน การรณรงค์สร้างจิตสำนึก การจัดหลักสูตรการสอนสร้างเครือข่าย การตั้งกองทุนชดเชย และการจัดการพื้นที่ จึงเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการเสือปลา โดยต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง และการสนับสนุนจากภาครัฐ บนพื้นฐานของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่


Ecology of Fishing Cat (Prionailurus viverrinus) and Community Participation on Its Conservation in Kui buri District, Prachuap Khiri Khan Province, Thailand

The objective of this study, to find the relationship and effect between community livelihood and Fishing Cat survival. Together with conservation guideline and community participation management in Don Yai Nu and Khao Dang sub-district, Kui buri District, Prachuap Khiri Khan Province. Combine with Fishing Cat Ecology Study, the data collection system on in-depth interview and intensive group interview to community stakeholder. The participatory assessment evaluation in the study area had done with participatory rural appraisal techniques for SWOT analysis for community participatory conservation.

The result of ecology study using live-bait protecting carnivore case and camera trap which had done at southern of Khao Sam Roy Yod National Park where are rice field and shrimp pond. There were more that 28 cats in 11.82 Sq.Km. The male fishing cat weigh 9.5 – 13 Kg. in their home renge 1.56 – 2.28 Sq.Km. and female weigh 5.3 – 9.4 Kg. in 0.14 – 1.74 Sq.Km. From the fishing cat dung analysis found that, their staple foods are rodents 36.7%, bird 27.8%, fish 24.9%, and small-sized other animal 10.6%. Unfortunately, some cats were killed because they do kill chickens, ducks, and fish in their pond, which bring about conflict problem for community livelihood and drive out or kill. Besides, there home range had developing plan for shrimp farm and tourism. Therefor, the populations are no better condition until nearly extinct.

From the data of community study found that, the need of knowledge and understanding on benefit of fishing cat, conscious campaign, education course network management, compensated fund, and land-use management are guideline for conservation and management which need the community participation and government support, base on economic, social, and culture in the study areas.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)