การประเมินศักยภาพทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติแบบมีส่วนร่วมบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา ในอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วิโรจน์ นาคแท้
อุทิศ กุฎอินทร์
ดรรชนี เอมพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา ในอุทยานแห่งชาติเขาสก 2) คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่น และ 3)ประเมินช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ได้รับการคัดเลือก สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวภาคสนามร่วมกับจัดประชุมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ จำนวน 20 คน เพื่อเสนอแนะและจัดลำดับความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โดดเด่นในพื้นที่ศึกษา ได้ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เป็นจำนวน 30 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมและ ให้ค่าน้ำหนักปัจจัยชี้วัดส่วนการให้ค่าคะแนนแต่ละตัวชี้วัดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 22 คน การประเมินโดยใช้สมการถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย

ผลการศึกษาพบว่าบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภามีทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ในและรอบบริเวณ ทั้งหมด 5 ประเภทได้แก่ เส้นทางเดินป่า ลำน้ำ/อ่าว ถ้ำ ธรณีสัณฐานและจุดชมวิว สามารถประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวได้ 25 แหล่งท่องเที่ยว ผลการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 5 แหล่ง สำหรับตัวชี้วัดการประเมินศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ตัวชี้วัดการประเภทการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 24 ตัวชี้วัด ประเภทการท่องเที่ยวแบบผจญภัย 20 ตัวชี้วัด และประเภทการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติทั่วไป 20 ตัวชี้วัด พบว่าแหล่งท่องเที่ยวตัวอย่าง 5 แหล่ง มีศักยภาพทรัพยากรสูง 2 แหล่ง นอกนั้นมีศักยภาพทรัพยากรค่อนข้างสูง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมสูงสุดสำหรับการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวธรรมชาติทั่วไป จำนวน 2 แหล่ง สำหรับการท่องเที่ยวประเภทผจญภัย จำนวน 2 แหล่ง และแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 1 แห่ง

 

PARTICIPATORY ASSESSMENT OF NATURAL TOURISM RESOURCES POTENTIAL AT RESERVOIR AREA OF RAJJAPRAPHA DAM IN KHAOSOK NATIONAL PARK, SURATTHANI PROVINCE

The objectives of this research were: firstly to explore the natural recreation resources in and around the reservoir area of Rajjaprapha dam, secondly, to select the prominent natural recreation resources, and thirdly, to assess the selected natural recreation resources and recreation opportunities. A focus group of 20 key informants was subjected for suggestions and prioritized the prominent natural recreation sites in the study area. The questionnaires were used to assess suitability and weighting score of indicators by inquiring 30 persons of natural tourism experts, and recreation opportunity were evaluated by inquiring 22 stakeholders. The weighted score equation was used to assess natural recreation resources potential.

The results indicates that there were 5 natural-based tourism resources, 25 natural recreation sites and 5 the prominent natural recreation resources, e.g. nature trail, streams/bay, cave, land form and viewpoint. Purposive Sampling was then used to select natural recreation sites that were 5 prominent sites.
The suitable indicators of natural recreation potential sites, 20 indicators for conventional nature tourism, 20 indicators for adventure recreation potential sites, and 24 indicators for ecotourism recreation potential sites. The result reflected that there were 5 prominent recreation sites: 1 conventional nature tourism site, 2 adventure tourism sites, and 2 ecotourism sites. Each category was rated by score.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)