ทุนทางสังคมท่ามกลางภัยพิบัติ: กรณีศึกษาภาวะอุทกภัยของตำบล แห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554

Main Article Content

พลัฎฐ์ อำไพ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาทุนทางสังคมผ่านกรณีศึกษาภาวะอุทกภัย ของตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2554 ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบ เป็นทางการและกึ่งทางการ และการสังเกตการณ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นระบบ ความคิดและวิธีการแก้ปัญหาของคนในสังคมนั้นๆ ที่เกิดจากการมี การใช้ ทุนทางสังคม รวมถึงผลในด้านบวกและลบของทุนทางสังคม และความ เชื่อมโยงกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระดับท้องถิ่น โดยพบว่า

1. การก่อเกิดและสั่งสมทุนทางสังคมในพื้นที่แห่งนี้ จะมาจากสาย สัมพันธ์ทางสังคมที่ซ้อนทับกันระหว่างความสัมพันธ์แนวราบที่เกิดจาก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีสถานะที่คล้ายคลึงกันในครอบครัว เครือญาติและกลุ่มเพื่อนบ้าน เรียกว่า การยึดโยง (Bonding) และการเชื่อมโยง (Bridging) ในขณะที่ความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่มีฐานะแตกต่างกัน เรียกว่า ความเกี่ยวพัน (Linking)

2. ในภาวะอุทกภัยทุนทางสังคมที่มาจากสายสัมพันธ์ทางสังคม ที่ซ้อนทับกันทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง กลายเป็นกลไกหนึ่งที่สำ คัญ ที่ถูกนำมาใช้ ทั้งในการจัดการของภาครัฐและผู้ประสบภัย โดยปรากฏผลทั้ง ในแง่บวกและลบ กล่าวคือ ในแง่บวก ทุนทางสังคมเป็นตาข่ายรองรับทาง สังคม (Social safety Net) ในภาวะยากลำบาก เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร และช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรที่ขาดแคลน สำหรับในแง่ลบ ทุนทาง สังคมก็สร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร ซึ่งส่งผลต่อความ ไว้วางใจที่ถดถอยลง ซึ่งในแง่นี้ทุนทางสังคมสะท้อนถึงการดำรงอยู่ที่ต่อเนื่อง ของระบบอุปถัมภ์ และคลี่คลายให้เห็นถึงตรรกะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่หลบซ่อนอยู่

 

Social Capital in Disaster: A Case Study of 2011 Flood in Nonthaburi Province

This article aims to study social capital through the 2011 Flood in one sub-district of Nonthaburi Province. Qualitative research techniques consisting of survey, in-depth interview, structured and semi-structured interviews and observation-were used to explain 1) ideology and problem resolutions in the community through the lens of social capital as well as 2) impacts of Social Capital and the linking of local power relationship.

The key findings are as followed:

1) The formation and accumulation of social capital in the community from the overlapping between (1) horizontal association from bonding and bridging among family and neighbor, and (2) vertical association between linking groups.

2) The positive and negative impacts from the usage of the social capital by the government and victim. Social safety net, source of information and ways to access scarce resources were the positive impact while the unequally to access resource and trust reduction were negative ones reflecting the continuing of the patronage system and power relation

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)