เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • [ฟอร์มบทความ] สำหรับผู้ที่สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม สามารถดาวน์โหลด Template การเตรียมต้นฉบับบทความ ได้ที่: กดเพื่อดาวน์โหลด
  • บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม ต้องเป็นบทความไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และเป็นบทความที่ไม่อยู่ระหว่างการส่งให้วารสารอื่น

  • ไฟล์บทความต้นฉบับจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word ระบบปฏิบัติการวินโดว์ (ประเภทไฟล์ .doc, .docx)
  • สำหรับแหล่งข้อมูลอ้างอิงออนไลน์ที่สามารถระบุแหล่งที่มาเข้าถึงได้ โปรดระบุลิงค์ URLs เพื่อเข้าถึงในส่วนบรรณานุกรมภายในบทความร่วมด้วย
  • ผู้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ทำการตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ภายในบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสารวิจัยสังคม อาทิ ความยาวเนื้อหา รูปแบบอักษร ขนาดอักษร การเว้นวรรคตอน การเคาะ Spacebar (ใช้เพียง 1 เคาะ) การวางตำแหน่งภาพและตารางให้พอดีกับขนาดหน้าตามเกณฑ์ที่วารสารวิจัยกำหนด (โปรดพิจารณาในหัวข้อ "คำแนะนำผู้แต่ง")
  • บทความควรใช้ภาษาทางวิชาการอย่างเหมาะสม รวมถึงการอ้างอิงภายในเนื้อหาและบรรรณานุกรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์รูปแบบ APA (ทางวารสารใช้การเน้นตัวหนาแทนตัวเอียงตามหลัก APA)
  • บทความที่ถูกส่งมาให้วารสารวิจัยสังคมผ่านการพิจารณาเบื้องต้น จะได้รับการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิตามเกณฑ์ที่กำหนดในลักษณะปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-blind peer review) ทั้งนี้ บทความผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ท่านจึงถือว่าบทความผ่านเกณฑ์การประเมินบทความของวารสารวิจัยสังคม

คำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์วารสารวิจัยสังคม:

1. บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์: บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม ต้องเป็นบทความไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และเป็นบทความที่ไม่อยู่ระหว่างการส่งให้วารสารอื่น

 

2. ประเภทไฟล์: ต้นฉบับพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows (.doc, .docx)
สำหรับผู้ที่สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม สามารถดาวน์โหลด Template การเตรียมต้นฉบับบทความ ได้ที่: --> กดเพื่อดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมต้นฉบับ (Template)

 

3. รายละเอียดต่าง ๆ ภายในบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสารวิจัยสังคม:
3.1 ขนาดกระดาษ: กระดาษ A4 (21.0 x 29.7 ซ.ม.)
3.2 การกำหนดขอบหน้ากระดาษ: ส่วนบน (2.50 ซ.ม.) และส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนล่าง (1.90 ซ.ม.)
3.3 ความยาวของเนื้อหา: ประมาณ 10-20 หน้า มีจำนวนคำไม่เกิน 7,000 ตัวอักษร
3.4 รูปแบบอักษร ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ: TH SarabunPSK

3.5 ขนาดอักษร (ตามที่ระบุใน Template การเตรียมต้นฉบับบทความ):
(1) ชื่อบทความ - ใช้ตัวหนา ชิดขวา ขนาด 18 พอยน์
(2) ชื่อผู้แต่ง - ใช้ตัวปกติ ชิดขวา ขนาด 15 พอยน์
(3) สังกัด / E-mail - ใช้ตัวปกติ ชิดขวา ขนาด 12 พอยน์
(4) เนื้อความส่วนเชิงอรรถ - ใช้ตัวปกติ ขนาด 12 พอยน์
(5) หัวข้อภายในบทความ - ใช้ตัวหนา ชิดซ้าย ขนาด 15 พอยน์
(6) เนื้อหาภายในบทความ - ใช้ตัวปกติ ขนาด 15 พอยน์
(7) เนื้อความส่วนอ้างอิง - ใช้ตัวปกติ ขนาด 15 พอยน์

3.6 บทความมีส่วนบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) และมีการระบุคำสำคัญ (Keywords) ทั้งนี้ บทคัดย่อแต่ละส่วน มีจำนวนคำไม่เกิน 250 ตัวอักษร 
3.7 บทความมีการระบุ ชื่อของผู้เขียน หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่งทางวิชาการ รวมถึงรายละเอียดของบทความในกรณีบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย / ได้รับการสนับสนุนการแหล่งผู้ให้ทุนวิจัย 
3.8 ผู้เขียนบทความมีการตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น การตัวสะกดคำ การเว้นวรรคตอน ความเหมาะสมของเนื้อหาแต่ละย่อหน้าและการใช้ภาษา รวมถึงการอ้างอิงภายในเนื้อหาและบรรณานุกรมตามหลักการอ้างอิง APA Style

 

4. สำหรับบทความวิจัย: ควรมีองค์ประกอบ การลำดับการเขียน และการระบุหัวข้อภายในบทความให้ชัดเจน ดังนี้
(1) บทนำ (Introduction) - เนื้อหาที่มีความครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยพร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความ
(2) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) - กล่าวถึงกรอบแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้อธิบายเนื้อหาภายในบทความชิ้นนี้
(3) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) - ที่สามารถอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน
(4) ผลการศึกษา (Research Finding) - ที่สามารถอธิบายข้อค้นพบจากการทำวิจัยที่เกิดขึ้น
(5) อภิปรายและสรุปผลการวิจัย (Discussions / Conclusions) - การขมวดประเด็น  หรือการประมวลผล หรือการวิพากษ์ ต่อข้อค้นพบจากการศึกษา นำไปสูการเชื่อมโยงหรือเปรียบเทียบทางแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หรือข้อค้นพบทางวิชาการที่ผ่านมา
(6) การอ้างอิง (References) - ทั้งในส่วนการอ้างอิงเนื้อหา (Citations) และการอ้างอิงบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA Style

 

5. สำหรับบทความวิชาการ: ควรให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) มีหัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างสมบูรณ์
(ข) มีการลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ
(ค) มีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้ กรอบแนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการผ่านมุมมองของตนเองได้อย่างเด่นชัด และเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน


6. การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์วารสารวิจัยสังคม:
กองบรรณาธิการฯ มีการพิจารณาบทความที่ส่งเข้ามาและเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิคัดกรองบทความ เพื่อพิจารณาคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการจัดพิมพ์ (สามารถพิจารณารายละเอียดหัวข้อ "กระบวนการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ") โดยการประเมินบทความสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
6.1 กรณีที่ผลการพิจารณาให้จัดพิมพ์ได้ หรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขก่อน - กองบรรณาธิการฯ จะแจ้งให้ทราบ โดยผู้เขียนจะต้องดำเนินการปรับแก้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และกองบรรณาธิการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตกแต่งต้นฉบับความถูกต้องตามหลักภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
6.2 กรณีที่ผลการพิจารณาไม่สามารถจัดพิมพ์ได้ กองบรรณาธิการฯ จะแจ้งและส่งต้นฉบับผลงานคืนแก่ผู้เขียน

 

7. การอ้างอิงเอกสาร

ผู้ส่งบทความจะต้องมีการเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นหรือเขียนแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในตอนท้ายของบทความ โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบ APA Style ซึ่งผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของการอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารวิจัยสังคัมกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยผู้ส่งบทความต้องยึดตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

1) รูปแบบการอ้างชื่อบทความในวารสาร
ภาษาไทย:
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). “ชื่อบทความ”. ชื่อวารสาร, ฉบับที่: เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
ภาษาอังกฤษ:
Surname, initial. (year). “title”. journal name, volume: page number.

ตัวอย่างการอ้างอิง
ภาษาไทย:
อาณัติ ลีมัคเดช. (2556). “การส่งสัญญาณด้วยรางวัลรับผิดชอบต่อสังคม : กรณีศึกษาของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย”. วารสารบริหารธุรกิจ, 139: 27-42.
ภาษาอังกฤษ:
Jarutakanont, S. & Supattarakul, S. (2013). “Market Reaction to Management Earnings Forecasts in Thailand”. Journal of Business Administration, 138: 63-79.

2) รูปแบบการอ้างชื่อหนังสือ
ภาษาไทย:
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ภาษาอังกฤษ:
Surname, initial. (year). title. place of publication: publisher.

ตัวอย่างการอ้างอิง
ภาษาไทย:
สุชาติ บ่อเกิดมานะ. (2553). การบริหารเวลา สำหรับองค์กรยุคใหม่. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาษาอังกฤษ:
Sriquan, N. (2012). Transforming Key Performance Indicators for Organization. Bangkok: Thammasat Printing House.

3) หัวข้อ Translated Thai Reference
ทุกเอกสารที่มีการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย จะต้องมีการแปลเอกสารนั้น ๆ เป็นภาษาอังกฤษกำกับ โดยระบุหัวข้อ "Translated Thai References" โดยเพิ่มรายการอ้างอิงภาษาอังกฤษเป็นอีกส่วนหนึ่งด้วยเสมอ

ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยที่ระบุไว้
นภดล ร่มโพธิ์. (2554). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศจี ศิริไกร. (2555). “ธุรกิจไทยกับการใช้ความรู้บริหารการปฏิบัติการ”. วารสารบริหารธุรกิจ,134: 46-64.

ตัวอย่างการแปลที่ระบุในหัวข้อ Translated Thai References (ส่วนที่ให้แปลรายการอ้างอิงภาษาอังกฤษเพิ่มเติม)
Rompho, N. (2011). Organizational Performance Measurement. Bangkok: Thammasat University Press. [In Thai].
Sirikrai, S. (2012). “Operations Management in Thai Business”. Journal of Business Administration, 134: 46-64. [In Thai].