ระหว่าง Francis Fukuyama กับ Samuel Huntington : The End of History and the Last Man กับ The Clash of Civilizations and The Remaking of World Order

Main Article Content

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

บทคัดย่อ

แนวความคิดของลูกศิษย์ (ฟรานซิส ฟูกูยามา) กับของอาจารย์ (แซมมวล ฮันติงตัน) นับว่า เรื่องที่น่าสนใจมากเนื่องจากฟรานซิส ฟูกูยามาได้เขียนบทความเรื่อง "The End of History?" เมื่อพ.ศ.2532และได้ขยายออกเป็นหนังสือชื่อ The End of History and the Last Manซึ่งได้สร้างความฮือฮาในแวดวงวิชาการของโลกอย่างยิ่งโดยฟูกูยามาอ้างอิงแนวคิดของเฮเกล ในเรื่องของวิภาษวิธีของการต่อสู้ดิ้นรนของจิตวิญญาณมนุษย์โดยมนุษย์ต้องต่อสู้ดิ้นรนจนกว่าตนจะได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรีโดยไม่ถูกกดขี่จากผู้อื่นอีกต่อไป การต่อสู้ดิ้นรนทางจิตวิญญาณที่ว่านี้จะเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ในที่นี้จึงหมายถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ที่เกิดจากการต่อสู้ดิ้นรนของจิตวิญญาณของมนุษย์และวิวัฒนาการนี้สะท้อนออกมาในรูปของการปกครองฟูกูยามาได้ชี้ว่า ระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยเป็นรูปแบบสุดท้ายของการปกครองของมนุษยชาติ ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์สัญชาติหรือศาสนาใดก็ตาม ฟูกูยามาได้ชี้ว่านับตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นต้นมารูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด (ในแง่คุณค่าทาง จริยธรรม, การเมือง และเศรษฐกิจ) เท่าที่เคยมีมานี่เป็นระบบการปกครองที่ให้การรับรองศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่เป็นสมาชิกในสังคมอย่างดีที่สุดยังไม่มีการปกครองรูปแบบใดที่มีวิวัฒนาการที่เหนือชั้นกว่านี้ด้วยเหตุนี้ "ประวัติศาสตร์" ต่อไปจึงไม่มี ดังนั้นเรามาเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดทาง "ประวัติศาสตร์"ไม่ใช่ว่าจะไม่มี "เหตุการณ์" ใดเกิดขึ้นหลังจากนี้อีกยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายนับจากนี้ แต่เหตุการณ์นั้นไม่นับว่าเป็น "ประวัติศาสตร์" เพราะไม่แสดงวิวัฒนาการใดที่ยิ่งไปกว่านี้อีก


ส่วนแซมมวล ฮันติงตันได้เขียนบทความ "The Clash of Civilizations" ตีพิมพ์ในวารสาร Foreign Affairs พ.ศ. 2536 เพื่อโต้แย้งแนวความคิดของฟูกูยามาที่ว่าความขัดแย้งของลัทธิและสงครามอุดมการณ์ทางการเมืองได้สิ้นสุดไปพร้อมกับการยุติของสงครามเย็นความขัดแย้งในโลกก็จะเป็นเพียงทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ฮันติงตันมีความเห็นว่าความขัดแย้งหลักของการเมืองโลกจะเกิดขึ้นระหว่างชาติและกลุ่มที่มีความแตกต่างทางอารยธรรม การปะทะกันของอารยธรรมจะครอบงำการเมืองและเส้นแบ่งที่ผิดพลาดทางอารยธรรมจะเป็นแนวรบของอนาคตความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมจะเป็นรูปธรรมล่าสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมตะวันตก (คือสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก ออสเตรเลียและบรรดาประเทศคริสเตียนและคริสตังทั้งหลาย) กับอารยธรรมอิสลามก็จะเป็นสาเหตุของสงครามใหญ่ในโลกต่อไปได้

Article Details

บท
บทความพิเศษ