กฎหมายอาญาเฟ้อ

Main Article Content

สุภัชลี เทพหัสดิน ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

สภาวการณ์กฎหมายอาญาเฟ้อเป็นสภาพปัญหาอันเกิดจากการกำหนดให้การกระทำต่าง ๆ เป็นความผิดอาญามากเกินความจำเป็น ด้วยความเชื่อที่ว่า โทษทางอาญาจักสามารถทำให้ผู้คนเกรงกลัวที่จะกระทำความผิดได้ แม้ในความเป็นจริงที่ปรากฏ โทษทางอาญาที่รุนแรงที่สุด คือ โทษประหารชีวิต ก็ไม่อาจควบคุมการก่ออาชญากรรมได้ อีกทั้ง แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 วรรคท้ายได้วางหลักให้พึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรงแต่ตามความเป็นจริง ความผิดเล็กน้อย หรือความผิดที่มีลักษณะของการกระทำไม่เป็นความผิดอาญาหลายประการยังคงถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาหากปรับแก้โดยยกเลิกบัญญัติลักษณะความผิดเช่นนี้ไว้ในประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา แต่จัดหมวดหมู่ไว้ในประเภทของการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ หรือความผิดทางปกครองย่อมสอดคล้องกับหลักประกันของการเริ่มต้นจากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความผิดอาญา หลักเกณฑ์ในการกำหนดความผิดอาญา โครงสร้างของความผิดอาญา วัตถุประสงค์ของการลงโทษทางอาญา โดยพิจารณาตามลำดับอย่างเป็นระบบย่อมทำให้สามารถแยกการกระทำที่เป็นความผิดอาญาและการกระทำที่ไม่ใช่ความผิดอาญาได้อย่างชัดเจน โดยปราศจากข้อสงสัยทำให้สามารถแยกความผิดทางปกครองออกจากความผิดอาญา ตลอดทั้งการจัดตั้งองค์กรหรือกำหนดกระบวนการกลั่นกรองกฎหมายที่มีความเป็นอิสระจะช่วยทำให้เกิดการออกกฎหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและลดความซ้ำซ้อนในการบัญญัติกฎหมาย นั่นย่อมทำให้สภาวการณ์กฎหมายอาญาเฟ้อไม่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องด้วยการกระทำที่ไม่เป็นความผิดอาญา ย่อมไม่ถูกบัญญัติเป็นความผิดอาญาไว้ในประมวลกฎหมายอาญากฎหมายอาญาที่ลงโทษเฉพาะแต่การกระทำที่เป็นความผิดอาญาและเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญาที่มุ่งคุ้มครองการอยู่ร่วมการในสังคมให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อย

Article Details

บท
บทความวิชาการ