เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความที่ส่งเข้ามาเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นหรือการประชุมวิชาการใด ๆ และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
  • บทความนี้ไม่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) ในกรณีที่มีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น ได้แก่ ตาราง รูปภาพ และเนื้อหาต่าง ๆ ผู้แต่งได้ระบุรายการอ้างอิงครบถ้วนและถูกต้องตามจรรยาบรรณของการอ้างอิงผลงานวิจัยทุกประการ
  • เป็นบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขต (Aims and Scope) ของวารสาร
  • ผู้เขียนได้จัดเตรียมต้นฉบับตามแนวทางของวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามที่ได้ระบุไว้ในหัวข้อ "คำแนะนำผู้แต่ง" (กรณีบทความไม่ตรงตามรูปแบบวารสาร กองบรรณาธิการอาจไม่รับพิจารณาตีพิมพ์)
  • ผู้เขียนได้จัดเตรียมบทความในรูปแบบไฟล์ Microsoft Office Word Document (.doc / .docx)
  • หากผู้นิพนธ์ชำระเงินค่าดำเนินการพิจารณาบทความแล้ว และขอยกเลิกการลงตีพิมพ์ในภายหลัง กองบรรณาธิการจะไม่โอนเงินคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
  • ข้าพเจ้าได้อ่านข้อกำหนดในการส่งบทความของวารสารฯ ครบทุกข้อแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงทุกประการ

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

            จัดทำโดย สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นวารสารราย 4 เดือน ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เดือนเมษายน  2) ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคม และ 3) ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-เดือนธันวาคม
            โดยจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย/นักวิชาการทั่วไป ในการนำเสนอผลงานวิชาการ โดยมีขอบเขตงานของวารสารครอบคลุม สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์  บริหารธุรกิจและการจัดการ  ครุศาสตร์  ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

เกณฑ์การรับพิจารณาบทความ

            1. ผลงานทางวิชาการที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ต้องอยู่ในรูปแบบของบทความวิชาการ หรือบทความวิจัยและต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นหรือการประชุมวิชาการใด ๆ และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
            2. บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการประเมินความถูกต้องทางวิชาการ (peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2-3 ท่าน โดยเป็นการประเมินแบบ Double – blinded review และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
            3. บทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

 

ประเภทของบทความ

ผู้เขียนสามารถส่งบทความได้ 2 ประเภท คือ บทความวิจัย  บทความวิชาการ  โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1. บทความวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อ
            1.1   ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            1.2   ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            1.3   สังกัดของผู้เขียน (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            1.4   บทคัดย่อ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            1.5   คำสำคัญ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            1.6   บทนำ
            1.7   วัตถุประสงค์ของการวิจัย
            1.8   วิธีดำเนินการวิจัย
            1.9   ผลการวิจัย
            1.10 อภิปรายผลการวิจัย
            1.11 ข้อเสนอแนะ
            1.12 เอกสารอ้างอิง

2. บทความวิชาการ ประกอบด้วยหัวข้อ
            2.1  ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            2.2  ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            2.3  สังกัดของผู้เขียน (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            2.4  บทคัดย่อ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            2.5  คำสำคัญ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
            2.6  บทนำ
            2.7  เนื้อหา
            2.8  บทสรุป
            2.9  เอกสารอ้างอิง

การเตรียมต้นฉบับ

          1. รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 จุด ทั้งหมด ยกเว้น ส่วนนำ หัวข้อ และการอ้างอิง ให้ใช้ TH SarabunPSK 15 จุด ตัวหนา และการเว้นวรรคระหว่างคำข้อความ ให้เว้นวรรค 1 เคาะ เท่านั้น
          2. คำศัพท์เฉพาะเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้รูปแบบการพิมพ์เป็น Capital Letter ทั้งหมด
          3. ขนาดกระดาษ 18.4 ซ.ม. x 26 ซ.ม. (184 x 260 mm หรือ Size B5)  ระยะระหว่างบรรทัด 0.82 เนื้อหาของบทความ จำนวนไม่เกิน 12-15 แผ่น รวมบทคัดย่อ เนื้อหาและภาพประกอบ
          4. ชื่อบท ความมีความชัดเจน และครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
          5. ส่วนต้นบทความ ชื่อผู้เขียน ให้ระบุชื่อ นามสกุล, ชื่อสาขา, ชื่อคณะ, ชื่อมหาวิทยาลัย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  และระบุอีเมลของผู้ประสานงานนิพนธ์ (Corresponding Author)
          6. บทคัดย่อ บทคัดย่อมีความยาวระหว่าง 300 - 350 คำโดยสรุปเป็นความเรียงไม่เกิน 2 ย่อหน้า และท้ายบทคัดย่อให้กำหนดคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ
          7. โครงสร้างเนื้อหาบทความวิจัย ได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์  วิธีดำเนินการวิจัย ผลการดำเนินงานวิจัย อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
          8. โครงสร้างเนื้อหาบทความวิชาการ ได้แก่ บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง 
          9. การอ้างอิง วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) 7th edition ให้จัดเรียงรายการเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ โดยแยกจัดเรียงภาษาไทยไว้ก่อนภาษาต่างประเทศ โดยยึดหลักการเรียงตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน รูปแบบการจัดพิมพ์รายการอ้างอิง มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
                9.1 หนังสือที่เป็นรูปเล่มที่มีผู้แต่งคนเดียว
                      ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). บริษัท ไทเนรมิต อินเตอร์โปรเกรสซิฟ จำกัด. 
                      Stebbing, L. (1993). Quality Assurance: The Route to Efficiency and Competitiveness (3rd ed). Ellis Horwood.
                9.2 หนังสือที่เป็นรูปเล่มมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้ “และ” หรือ “&” เชื่อมระหว่างชื่อผู้แต่งทั้งสอง
                       กรรณิการ์ สุขเกษม และ สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). คู่มือการประยุกต์การใช้โปรแกรมลิสเรล.
                                   ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
                       Robinson, A., & Mary, G.L. (1993). Clinical Genetics Handbook (2nd ed). Blackell Scientific.
                9.3 บทความในวารสารแบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มี DOI
                       อภิวัตน์ แสนคุ้ม, สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง, พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง, และ ประดิษฐ ศิลาบุตร. (2563). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียน
                                   อนุบาลประจำจังหวัดสู่ความเป็นมาตรฐานสากล. วารสารบัณฑิตพัฒนสาร, 7(1), 1–15.
                       Panishkan, K., Sanmanee, N., & Pramual, S. (2011). Principal Component-based Modeling Approaches for
                                   Predicting Soil Organic Matter. Thailand Statistician, 9(1), 51-64.
                 9.4 บทความในวารสารแบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ที่มี DOI
                       Lee, S., Wu, M.C., & Lin, X. (2012). Optimal tests for rare variant effects in sequencing association studies.
                                   Biostatistics, 13(4), 762-775. http://doi:10.1093/biostatistics/kxs014.
                 9.5 วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตที่ไม่ได้ตีพิมพ์
                       สิริกัลยา สุขขี. (2553). การเปรียบเทียบวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ วิธีโครงข่ายประสาทเทียมและวิธีจีเนติกอัลกอริทึม
                                 โดยใช้องค์ประกอบหลักในการพยากรณ์อินทรีย์วัตถุในดิน : กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรกรรมสวนผลไม้ใน.
                                  ภาคตะวันตกของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
                       Sookkhee, S. (2018). Efficiency of Single SNP and SNP-Set Analysis in Genome-Wide Association Studies
                                  [Unpublished doctoral dissertation]. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.
                9.6 รายงานการประชุมเชิงวิชาการ (Proceeding) ในรูปแบบรูปเล่มหนังสือ
                      ฉัตรชัย สืบทรัพย์, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ, จำเริญ อุ่นแก้ว และ สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง. (2560). การเตรียมความพร้อมของ
                                  ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ใน จำเริญ อุ่นแก้ว (บ.ก.),
                                  การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏศรีสะเกษวิชาการ ครั้งที่ 4(น. 238–242). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
                9.7 เว็บไซต์
                      วรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์. (2559, 7 เมษายน). มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
                                  มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1218
                      LeBrun, N. (2019, 22 May). Crohn's Disease: 11 Things Doctors Want You to Know. Healthgrades.
                                  https://www.healthgrades.com/right-care/crohns-disease/crohns-disease-11-things-
                                 doctors-want-you-to-know

            หมายเหตุ : ดูรายละเอียดการอ้างอิงเพิ่มเติมที่  รูปแบบการอ้างอิงวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

Template และแบบฟอร์มการส่งบทความ

          1. Template บทความ


กระบวนการส่งบทความ

            1. ผู้นิพนธ์สามารถส่งผลงานทางวิชาการเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ได้ตลอดทั้งปี ทางระบบวารสารออนไลน์เท่านั้น
            2. หลังจากผู้นิพนธ์ส่งบทความเข้ามาในระบบแล้ว ต้องรอการแจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการก่อนที่จะชำระเงินค่าตีพิมพ์
            3. กองบรรณาธิการจะการแจ้งผลต่าง ๆ หรือติดต่อกับผู้นิพนธ์ทางกระทู้ของเลขบทความ (ID) ที่ผู้นิพนธ์ส่งเข้ามาในระบบครั้งแรก และให้ผู้นิพนธ์ตอบกลับและส่งไฟล์การแก้ไขต่าง ๆ ของบทความ ในกระทู้ของเลขบทความเดียวกันเท่านั้น 
            
4. ภายใน 7 วันทางกองบรรณาธิการจะตอบกลับ ให้ท่านเข้ามาเช็คในระบบ ThaiJo ของวารสาร

ค่าธรรมเนียมการพิจารณา

            ผู้เขียนต้องชำระค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์บทความลงวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดังนี้
            1.  กรณีผู้เขียนบทความเป็นนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษให้ชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้
                 1.1 บทความภาษาไทย  2,500 บาทต่อบทความ
                 1.2 บทความภาษาอังกฤษ 4,500 บาทต่อบทความ
            2. กรณีผู้เขียนบทความเป็นบุคลากรภายนอกให้ชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้
                 2.1 บทความภาษาไทย  3,000 บาทต่อบทความ
                 2.2 บทความภาษาอังกฤษ 5,000 บาทต่อบทความ
            3. ห้ามผู้แต่งชำระเงินก่อนได้รับการยืนยันผลการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการ ทั้งนี้ หากชำระเงินมาก่อน แต่บทความของท่านไม่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้น ทางวารสาร ฯ ไม่สามารถคืนเงินให้ได้         
            4. กรณีกองบรรณาธิการแจ้งผ่านการพิจารณาเบื้องต้นและให้ผู้แต่งชำระค่าตีพิมพ์แล้ว แต่บทความของผู้แต่งไม่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ "ไม่คืนค่าใช้จ่ายทั้งหมด" 
            5. กรณีผู้เขียนบทความขอถอนบทความออกจากระบบหลังจากที่ชำระค่าตีพิมพ์แล้ว กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ "ไม่คืนค่าใช้จ่ายทั้งหมด"