กลยุทธ์การบริหารที่เป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

Isaya Prosamsri

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากลยุทธ์การบริหารที่เป็นเลิศ 2)  สร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหารที่เป็นเลิศและ3)ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารที่เป็นเลิศ  โดยแบ่งวิธีการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ  ระยะที่ 1การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนากลยุทธ์ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนากลยุทธ์และระยะที่ 3 การประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและแบบประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความมีประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสร้างกลยุทธ์การบริหารที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย ด้านวิสัยทัศน์ ด้านพันธกิจ ด้านเป้าประสงค์  ด้านประเด็นกลยุทธ์  ด้านตัวชี้วัด ด้านการนำองค์กร ด้านการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านผลลัพธ์

  2. 2. การสร้างกลยุทธ์ที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย ด้านวิสัยทัศน์ ด้านพันธกิจ ด้านเป้าประสงค์  ด้านประเด็นกลยุทธ์ ด้านตัวชี้วัด ด้านการนำองค์กร ด้านการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านผลลัพธ์ ผลการสร้างกลยุทธ์ได้ 5 กลยุทธ์ 49  มาตรการ  49 ตัวชี้วัด

  3. 3. การประเมินกลยุทธ์การบริหารที่เป็นเลิศ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้และ ด้านความมีประโยชน์ โดยภาพรวม พบว่า ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน นอกจากนั้น ผลการประเมิน ด้านความมีประโยชน์ ของการบริหารจัดการศึกษาโดยชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Anothai Tanasawat. (2010). Developing a Management Strategy for the Excellence of the Faculty of Education Science / Education [Citation needed].
Akarapong Thepnin. (2014). Primary School Administration Model in Northeastern
Thailand Towards on Excellence in the Next Decade. (Educational)
Boonleung Khamchou. (2011). Implementation of Strategic Plan in Primary School
Surin Province Primary School Office. (Master of Education in Educational Administration). [Citation needed]: Mahasarakham.
Chayapim Usaho. (2008). Education Plan. (Copy Document).
Dissertation in Educational Administration and Educational Development). [Citation needed] Sakon Nakhon Rajabhat University.
David, Fred R. (1997). Strategic Management. 6th ed. New Jersey : Prentice-Hall,Inc.
Jeera Phrasuphan. (2012). The Strategy for Developing Small-Sized Schools to Become Effective in Quality. (Educational Dissertation). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.
Ministry of Education. (2010). Quality Management Guideline. Bangkok : Agriculture Cooperative printing house of Thailand.
________.(2015). Policy of Basic Education Commission Office for Fiscal Year 2017. (2nd Edition). Bangkok: Agriculture Cooperative printing house of Thailand.
Ratree Sripraiwan, and Pitsiri Buranapitak. (2013). The Development of Management Strategies Toward Excellence of the Worldclass-Standard Elementary School. Vol. 3 No. 2 July-December 2013: Heritage Journal.
Tassanee Tang Boonsakem. (2015). Strategic Management (Cited on 17th November, 2009) . Available on http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1251.
Thamrongk Laucha. (2015). The Mulit-level Factors Affecting of the School Administrative to Excellence School under the Chaigaphum Primary Education Service area Office. (Eeducational Dissertation). Mahasarkham: Mahasarakham University..
Tosaporn Siriphun. (2549). Strategic Development for Thai Public Administration. Cited on 1st November 2016, Available on http://oldweb.opdc.go.th/thai/strategic_transfer/data/Tosaporn.p