แรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานของแรงงานต่างด้าว (สัญชาติกัมพูชา) ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

Main Article Content

นฤเบศธ์ สิงห์สถิตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง แรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานของแรงงานต่างด้าว (สัญชาติกัมพูชา) ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความผูกพันต่อองค์การ ระดับแรงจูงใจในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์การ และแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การเป็นการศึกษา           เชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ แรงงานต่างด้าว (สัญชาติกัมพูชา) ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test  F-test (One-way ANOVA) Correlation และ Regression Analysis


            ผลการศึกษา พบว่า แรงงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 ปี สื่อสารภาษาไทยไม่ได้          มีสถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ย 12,001-14,000 บาทต่อเดือน อายุการทำงานในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และอาศัยอยู่ในประเทศไทย 3-4 ปี ปัจจัยจูงใจภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ด้านความสามารถในการพูดและสื่อสารภาษาไทย และด้านอายุการทำงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ในระดับปานกลางทิศทางเดียวกัน และปัจจัยค้ำจุนมีระดับสูงในทิศทางเดียวกัน โดยที่ด้านลักษณะของการทำงาน เรื่องความรู้สึกภาคภูมิใจ และด้านการได้รับการยอมรับนับถือ เรื่องเพื่อนร่วมงานให้การยอมรับ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ด้านความรับผิดชอบที่ได้รับ เรื่องความมุ่งมั่นในการทำงานด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เรื่อง หัวหน้างานแสดงความจริงใจส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมจัดหางาน. ระเบียบกรมจัดหางานว่าด้วนหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรจำนวนการว่าจ้าง พ.ศ. 2559
(ฉบับที่ 2). (2559, 24 พฤษภาคม). ระเบียบกรมจัดหางาน. กรมจัดหางาน.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15.
กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนสามัญ บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.
ปนัดดา สีสำลี. (2557). แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ไวต้าฟู้ดแฟคทอรี่
(1989) จำกัด อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปรีดา พรมเพชร. (2554). แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าว ในโรงงานอุตสาหกรรม
บริษัท สยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู้ด จำกัด อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พิสมัย สารการ. (2557). การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ความพึงพอใจ ต่อค่าตอบแทน
ในการพยากรณ์แรงจูงใจในการทำงานของแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรประยุกต์มหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
รุ้งณภา สีทะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การกับความผูกพันของ
ข้าราชการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ คำเพชรดี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากร พื้นที่อุบลราชธานี.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี.


วีรยุทธ อนุจิตรอนันต์. (2554). ทฤษฎีสองปัจจัย (ปัจจัยค้ำจุน-ปัจจัยจูงใจ) ที่มีอิทธิพลต่อระดับ
ความผูกพันขององค์การของแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชา ในอุตสาหกรรมประมงทะเล
กรณีศึกษา ตำบลปากน้ำ จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ
สำหรับผู้บริหาร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.mol.go.th/academician/basic_alien (วันที่ค้นข้อมูล : 1 พฤศจิกายน 2559).
สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว. (2559, ธันวาคม). สถานการณ์แรงงานต่างด้าว. สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว
กรมจัดหางาน. 59 (12), 1-2.
Cronbach L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins
Publishers. pp. 202-204.