การจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

Main Article Content

ภาวดี ทะไกรราช

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3  จังหวัด ศรีสะเกษโดยประชาชนมีส่วนร่วม ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ  2) เพื่อค้นหากิจกรรมและแนวทางการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3  โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3  จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 515 คน โดยทำการสัมภาษณ์ข้อมูลแบบเจาะลึกกับ ผู้บริหารหน่วยงานด้านป่าไม้  ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พระสงฆ์  ผู้นำชุมชน  คณะกรรมการป่าชุมชน และตัวแทนครัวเรือนในพื้นที่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 45 คน การสนทนากลุ่มกับตัวแทนหน่วยงานรัฐและตัวแทนชุมชน จำนวน 6 ครั้ง รวมจำนวน 120 คน  การประชุมเสนอแนวทาง กับตัวแทนหน่วยงานรัฐและชุมชน จำนวน 7 ครั้ง รวมจำนวน 350 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทำการจำแนกขั้นตอนการวิเคราะห์ออกเป็น 5 ขั้นตอนได้แก่ (1) การวิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย (2) การตรวจสอบข้อมูล(3) การทำดัชนีข้อมูล (4) การทำข้อสรุปชั่วคราวและกำจัดข้อมูล  และ (5) การสร้างบทสรุป ผลการศึกษาพบว่า


  1. บริบทการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ หรือป่าชุมชนวัดพระบาทภูสิงห์ ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์  จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาห้วยศาลา ที่อยู่ตามแนวชายแดนประเทศไทย–ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย   สถานภาพและบริบทป่าชุมชนได้รับการบริหารจัดการและการฟื้นฟู ดูแล ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้านป่าไม้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ บางพื้นที่พบว่ามีปัญหาการบุกรุกลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และการเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า  ขณะที่ประชาชนในพื้นที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาทรัพยากรป่าชุมชนนี้ เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้นานาชนิดที่กระจายไปทั่วบริเวณพื้นที่บริเวณป่าชุมชน  นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมอาหารของชุมชนในพื้นที่ มีทั้งพืชผัก ผลไม้ป่านานาชนิด สมุนไพรที่ประชาชนในชุมชนได้นำมาใช้ประโยชน์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม  

  2. การค้นหากิจกรรมและแนวทางการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3 โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ การทำกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการบุกรุกป่าชุมชน   การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชุมชน สนับสนุนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการป้องกันรักษาป่าชุมชนและกิจกรรมฟื้นฟูป่า          การปลูกป่า  การเพิ่มพื้นที่ป่าตามบริเวณพื้นที่ในชุมชน การรายงานและแจ้งข้อมูล กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติทางเขตพื้นที่ป่าชุมชน  การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลด้านการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่  การจัดการป่าชุมชนผ่านมิติวัฒนธรรม ประเพณี  ภูมิปัญญาและความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในผืนป่า  การจัดทำศาลเจ้าปู่ตา  ศาลเจ้าที่  พิธีบวชป่า การส่งเสริมสนับสนุน และเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน

  3. การเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ ในระดับครอบครัวและชุมชน ได้แก่ การจัดทำแผนงานพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรป่าชุมชน การจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนและพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการเฝ้าระวังป่าชุมชน การสร้างแผนงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ การปลูกฝังจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าชุมชนแก่เด็กและเยาวชน  การกำหนดกฎระเบียบการจัดการป่าชุมชน แนวทางในระดับหน่วยงานท้องถิ่น และจังหวัด ได้แก่ การประสานงานทำงานร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชุมชน การกำหนดแนวทางการจัดการระยะยาวเพื่อพัฒนาทรัพยากรป่าชุมชน พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน  สนับสนุนให้มีแผนพัฒนาตำบลในการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3  ปลูกฝังให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้สึก รักและหวงแหน รู้จักใช้ทรัพยากรป่าชุมชน  สร้างอาชีพ สร้างป่าเศรษฐกิจในชุมชน  ในระดับนโยบายและระดับประเทศ ได้แก่ การสนับสนุนการดำเนินงาน สร้างขวัญกำลังใจแก่หน่วยงานป่าไม้ในระดับพื้นที่  ส่งเสริมด้านงานวิชาการ  สนับสนุนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการจัดการป่าชุมชน และ สร้างแนวทางในการลดความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่  พิจารณานโยบายและแนวทางปฏิบัติงานที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนในระดับพื้นที่ 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
จัดการป่าชุมชน กรณีศึกษา บ้านป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน.
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชาญชัย งามเจริญ. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชน. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์.
ถิร จองตระกูล. (2543). การจัดการป่าชุมชนโดยองค์กรชุมชนตำบลด่านขุนทด จังหวัด
นครราชสีมา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิรุต ถึงนาค .(2550).การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านป่าไม้
แผนใหม่ตามแนวพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ ในการอนุรักษ์ป่าชุมชน จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปิยะนุช รุ่งแสงสุพรรณ และคณะ. (2550). การใช้ประโยชน์และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
ป่าชุมชนและประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนดงใหญ่ ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม
จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : รายงานวิจัย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปรีชา วัฒนวงศ์ และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้พื้นที่
ลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนบน ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงราย:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). ปรัชญาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สมพร พิมสาร. (2549). การจัดการป่าชุมชนของบ้านป่าลัน หมู่ที่ 5 ตำบลปงน้อย กิ่งอำเภอ
ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย : วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สุชาติ บุรีรัตน์. (2553). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการป่าชุมชนบ้านหนองหัวคน
ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาสารคาม: ปริญญาปรัชญา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สูนทอน เลื่อมมะไลสี. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ : กรณีศึกษาป่าต้นน้ำเซเส็ด
บ้านทุ่งเส็ด เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. อุบลราชธานี: วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น .อุบลราชธานี .
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อวยชัย วะทา. (2549). บทบาทขององค์กรในชุมชนในการอนุรักษ์ป่า : กรณีศึกษาป่าชุมชนโคกหินลาด
อำเภอเมือง และอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Chand Narendra , Kerr Geoffrey N., Bigsby, Hugh. (2015). Production efficiency of
community forest management in Nepal. Elsevier B.V.
Chowdhury, Mohammad Shaheed Hossain et al. (2014). Community attitudes
toward forest conservation programs through collaborative protected
area management in Bangladesh .Springer.

Felix Lamech Mogambi, Rennie, Hamish G. and Memon, Ali . (2014). Potential for co-management
approaches to strengthen livelihoods of forest dependent communities: A Kenyan
case .Published by Elsevier Ltd.
Leventon, Julia et al. (2014). Delivering community benefits through REDD+:
Lessons from Joint Forest Management in Zambia. Elsevier B.V.
Newton, Peter, et al. (2015). Community forest management and Reducing
Emissions from Deforestation and forest Degradation Published .Elsevier
B.V.
Pokharel, Ridish K., et al. (2015). Assessing the sustainability in community based
forestry: A case from Nepal. In The politics of community forestry in a Global Age - A critical analysis, Forest Policy and Economics September 2015 : Elsevier B.V.