การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ไพบูลย์ สุทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจสภาพและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ โดยจำแนกตามภูมิหลังของครู ขนาดของโรงเรียน และจำแนกตามสังกัดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดต่างๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีรูปแบบการตอบสนองแบบรายคู่ (Dual-response Format) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t – test เพื่อศึกษาและใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น  


              ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสภาพการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์เป็นดังนี้ 1) จำแนกตามภูมิหลังของครูพบว่า ครูที่จบและไม่จบการศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05  2)จำแนกตามขนาดของโรงเรียนพบว่า ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ 3) จำแนกตามสังกัดของโรงเรียนพบว่า ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนทั้ง 3 สังกัดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05


              ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในภาพรวมค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย และมีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ได้แก่ ด้านนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ค่า PNImodified  = 0.59  รองลงมาคือ ด้านนโยบายของสถานศึกษา ค่า PNImodified = 0.56 ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ค่า PNImodified = 0.40 และการพัฒนาคุณภาพการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ ค่า PNImodified = 0.32

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

เกวลิน ชัยณรงค์. (2554). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญรัศม์ จอกสถิต. (2553). โมเดลการพัฒนาการปฏิบัติงานของครู : การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินครูที่เน้นการปฏิบัติงานเป็นฐานและการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2558). คุรุเศรษฐศาสตร์ (Economics of Teacher). สำนักงานสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ(สกว.)


พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21 ในรายงานการศึกษาประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้..สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย (6 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) โดย สำนักงานสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ณ อิมแพค เมืองทองธานี.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และประทีป เมฑาคุณวุฒิ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างและพัฒนาครูเพื่อรองรับกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาปัญญาบนพื้นฐานแนวคิดไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภัทราวดี วชิรธาดากุล. (2553). การเปรียบเทียบวิธีการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ : การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชราภรณ์ เกียรติบุญญาฤทธิ์. (2549). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุระดับความต้องการจำเป็นของนักเรียนและครูที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพรธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย ทองคำสุข. (2557). ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2548). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2549-2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.). (2545). มาตรฐานครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.). (2559). การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย การพัฒนา-ผลกระทบ-ภาวะถดถอยในปัจจุบัน 2558. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพครู. [ออนไลน์] เข้าถึงใน http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=254&tid=3&pid=6 [เข้าถึง 24 มิถุนายน 2560]
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). รายงานสรุปสภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). รายงานการวิจัยสมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์การพัฒนาสถานภาพครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
อนงค์ อินตาพรหมา. (2552). การวิเคราะห์พหุระดับปัจจัยด้านครูและนักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาวิจัยการศึกศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Garet, M., Porter, A., Desimone, L., Birman, B., & Yoon, K. (2001). What makes professional development effective? Results from a national sample of teachers. American Educational Research Journal, 38(4), 915-945.
Ministry of Education, Culture, Sports, Science & Technology. Japan. Introduction:Education, available at http://www.mext.go.jp/english/introduction/1303952.html
National Council of Teachers of Mathematics (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston, VA: Author.
Singapore, E. i. (2012). Education in Singapore. Retrieved August 28, 2013, from Ministry of Education in Singapore: http://www.moe.edu.sg/about/ files/moe-corporate-brochure.pdf
Suarez, T.M. (1990). Needs Assessment Studies. In H.J. Walberg, & G.D. Haertel(Eds.). The International encyclopedia of educational evaluation (pp: 29-31). Pergamon Press.
Wolpin, S. Amy, (2006). Become an Elementary Mathematics Teacher Leader : Collaborative Teacher Growth and Change. Dissertation Abstracts International-A, (UMI No. 1439386)
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.