การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณัฐชา จันทร์ดา

บทคัดย่อ

สภาพปัญหาการจัดการศึกษา ปัญหาเรื่องการประเมินคุณภาพการศึกษา และความสำคัญของงานวิชาการ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะสร้างรูปแบบการนิเทศงานวิชาการในโรงเรียนขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งการนิเทศนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาครู ให้สามารถปฏิบัติงานและจัดกิจกรรมการเรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในสภาพปัจจุบันมีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สามารถปฏิบัติการนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ครบถ้วน เนื่องจากศึกษานิเทศก์มีน้อย และสถานศึกษาหลายแห่งมีบุคลากรที่จะทำหน้าที่นิเทศ มีความรู้ ความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีมีไม่มากนัก การมีระบบการนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยทำการศึกษาสภาพปัญหาโดยใช้แบบสอบ นำประเด็นปัญหามายกร่างรูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ดำเนินการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน ได้ร่างรูปแบบ “คู่มือการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา Janda Model : CBAPAD) มี 6 โมดูลได้แก่ 1) Coaching : ชี้แนะ สอนงาน 2) Budget  : สนับสนุนงบประมาณ 3) Action : ปฏิบัติการ 4) Presentation  : นำเสนอผลงาน 5) Assessment : ประเมินผลงาน 6) Dissemination : เผยแพร่ผลงาน และประเมินผลการใช้รูปแบบด้วยการทดลองใช้ในสถานศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความเห็นสอดคล้องและเป็นแนวทางเดียวกันในด้านความสำเร็จของการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทรานี สงวนนาม. (2545 ก). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

นันทากร คัมภีร์พงศ์. (2551). ทักษะการนิเทศของผู้ทำหน้าที่นิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ปรีชา ทองรส. (2549). สภาพและความต้องการการนิเทศภายในของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก http://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile27022015155130_article.docx.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพวิสุทธิ์.

วีรพล สถิตสุข. (2553). ความต้องการการนิเทศงานวิชาการของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี.(งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ : Muti-level Analysis. พิมพ์ครั้งที่ 4.

กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงัด อุทรานันท์. (2548). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. ฉบับที่ 103 เดือนพฤษภาคม 2557.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). การประเมินอภิมาน: วิธีวิทยาและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เครือข่าย สมศ. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น, พิมพ์ครั้งที่ 3, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (2560). รายงานผลการดำเนินงานการประจำปีงบประมาณ 2560. กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวปฏิบัติงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษานิติบุคคล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

Simmons, C. (n.d.) Teacher Skill for the 21st century. Retrieved January 24, 2017 from htt://www.ehow.com/ list_6593189_teacher-skill-21st-century.html.

Wallace (n.d.). 21st century teacher shoud… Retrieved January 24, 2017 from tt://21cteachersict.wordpress.com/Chris Wallace.