เทคโนโลยีวัฒนธรรมพุทธศาสนิกชนในแหล่งโบราณสถาน ที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อสันติสุขของกลุ่มวัยรุ่นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

อนันต์ ไพรสณฑ์วัฒน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ส่วนหนึ่งเพื่อขยายความเพิ่มเติมจากงานวิจัยเรื่องเทคโนโลยีวัฒนธรรมพุทธศาสนิกชนในแหล่งโบราณสถานที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อสันติสุขของกลุ่มวัยรุ่นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศไทย กัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีวัฒนธรรมพุทธศาสนิกชนในแหล่งโบราณสถานที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พิมาย ในประเทศไทย นครวัด ในกัมพูชาและวัดพู ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้จากข้อค้นพบเชิงประจักษ์มานำเสนอพร้อมและกลยุทธ์ของวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในประเทศไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยเลือกกรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและบางส่วนในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานที่มี ชื่อเสียงและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณนา โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มพุทธศาสนิกเยาวชนที่ประกอบด้วยพระสงฆ์ สามเณรปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนทั่วไป เป็นต้น โดยการสำรวจข้อมูลภาคสนามและสรุปผลเสนอผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำสู่การเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมืองเพื่อสันติสุขในประเทศไทย


            จากการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย เพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย สังคมจะมีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูงหรือต่ำ พิจารณาได้จากระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หากประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงย่อมมีระดับความเป็นประชาธิปไตยสูง ในทางตรงกันข้าม หากสังคมใดที่มีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำ แสดงว่าสังคมนั้นมีระดับความเป็นประชาธิปไตยต่ำ  อีกทั้งผู้นำที่กลายเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับทุกส่วนของสังคม ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดของสังคม คือ เยาวชนในครอบครัว จนกระทั่งระดับประเทศ ทั้งผู้ประกอบอาชีพ ชุมชนกลุ่มน้อย รวมถึงเอกชนสาธารณประโยชน์ต่างก็ให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้นำ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มเยาวชนในประเทศไทย เป็นวัฒนธรรมที่ยังห่างไกลกับการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเต็มรูปแบบ  การสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้ได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องสร้างตั้งแต่เยาว์วัยต่อเนื่องจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เพื่อก้าวไปสู่คนในสังคมที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นกลุ่มที่มีอิสระทางความคิด ไม่อยากอยู่ในกฎเกณฑ์ของสังคม จึงเป็นวัยที่ต้องให้ความรู้ ความคิด และการแสดงออกถึงกิจกรรมเพื่อให้เข้าถึงวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการพัฒนาประชาธิปไตย


ของประเทศไทยไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยแบบสากลที่อารยะประเทศให้ความสำคัญ ความเคารพ กฎหมาย ระเบียบ กติกาและเพื่อหลีกเลี่ยงการทำรัฐประหารที่จะเข้ามาหยุดการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทย เพื่อนำพาสังคมไทยไปสู่ความสงบสุขและนำไปสู่สังคมสันติสุขต่อไป


            ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของเทคโนโลยีวัฒนธรรมของกลุ่มพุทธศาสนิกเยาวชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า 1) หลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนาจะเป็นผู้สร้าง ผู้ชี้ทางและเป็นผู้นำทางทางจิตใจของเยาวชนไทย ให้เห็นความดี ความชั่ว และความสุขอันแท้จริงของชีวิต เป็นผู้ชี้นำความสว่าง ความสงบแก่เยาวชน 2) นำกระบวนทัศน์ทางพุทธศาสนามาปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างในปัจจุบัน 3)มีการปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ ตามหลักพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกเยาวชนรู้จักมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ธรรม  4) เปิดโอกาสให้เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและกระบวนการมีส่วนร่วม


            ผลจากการศึกษาวิจัยสามารถกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมืองเพื่อสันติสุข ในประเทศไทยจัดโครงการส่งเสริมความรู้ทางการเมือง การปกครองของไทยให้แก่เยาวชนทั่วไปและ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2558). มาตรฐานการดูแลโบราณสถาน บทที่ 2
ความหมายและความสําคัญของโบราณสถานโบราณวัตถุพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : http://www.dla.go.th/ สืบค้น 9 มกราคม 2558
จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2548). การเมือง : แนวความคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. ( 2553). เล่มที่ 16 / เรื่องที่ 3 การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ /
ประโยชน์ของโบราณสถานและโบราณวัตถุ. กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับ
เยาวชน.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://kanchanapisek.or.th สืบค้น 9 มกราคม 2558
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.