กลวิธีการบรรเลงซอในวงมโหรีโคราช : กรณีศึกษา วงพนมพร จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชนาวัฒน์ จอนจอหอ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพของวงมโหรีโคราช วงพนมพร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษากลวิธีการบรรเลงซอของวงมโหรีโคราช วงพนมพร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธีการศึกษาทางดนตรีวิทยาเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามนำมาตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ


         ผลการวิจัยพบว่า 1) วงพนมพร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 โดย นายพนม จำลองกลาง เป็นรูปแบบวงมโหรีโคราชดั้งเดิม ใช้ชื่อว่า “วงมโหรีโคราช วงพนมพร” มีสมาชิกในวงในครั้งแรก อยู่ 6 คน เมื่อกระแสวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น งานที่เคยได้รับเริ่มลดน้อยลงปี พ.ศ.2540 จึงปรับเปลี่ยนวงมโหรีโคราชดั้งเดิมเป็นลักษณะวงดนตรีลูกทุ่งมีการร้องเพลงประสมรำ และได้นำเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาประสมวง ได้แก่ กีต้าร์เบส คีย์บอร์ด กลองชุด และกลองคองกา เข้ามาแทนเครื่องดนตรีเดิม แต่คงซอกลางไว้บรรเลงกับเครื่องดนตรีตะวันตกอื่นๆ และซอกลางยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวง จึงได้ปรับเปลี่ยนชื่อวงใหม่ว่า “วงมโหรีโคราชประยุกต์ คณะพนมพร บ้านช่องอู่” ปัจจุบันมีนักดนตรี ผู้บรรเลงซอ 3 คน ผู้บรรเลงดนตรีอื่นๆ 5 คน มีบทเพลงมโหรีดั้งเดิม และเพลงสมัยนิยม มีทั้งหมด 26 เพลง มีเพลงหลัก คือ เพลงพัดชา และเพลงล้อเลื่อน เป็นเพลงหลักใช้ในพิธีไหว้ครู รับงานอยู่ 3 ประเภท คือ งานอุปสมบท งานกฐิน-ผ้าป่า และงานเลี้ยงผีตาปู่ 2) กลวิธีการบรรเลงซอของวงมโหรีโคราช วงพนมพร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบในกลวิธีการบรรเลงซอของ นายพนม จำลองกลาง อยู่ 3 กลวิธี คือ กลวิธีการประสาย กลวิธีการขย่มสาย และกลวิธีการรูดสาย กลวิธีที่พบในการบรรเลงซอของ นายปรีชา มีหมื่นไวย มีอยู่ 3 กลวิธี คือ กลวิธีการประสาย กลวิธีกลวิธีการพรมสาย และกลวิธีการขย่มสาย กลวิธีที่พบในการบรรเลงซอของ นายฉลอ ไม้โคกสูง มีอยู่ 4 กลวิธี คือ กลวิธีการประสาย กลวิธีการขย่มสาย กลวิธีการรูดสาย และกลวิธีการดีดสาย

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรรณิการ์ โพธาสินธุ์. (2553). การบรรเลงสะล้อในวัฒนธรรมดนตรีล้านนา กรณีศึกษาวงสะเรียมศิลป์
อำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.
กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัชพงศ์ ไชยรัตน์. (2552). เทคนิคการสีซออีสาน.ปริญญานิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ปีที่พิมพ์ มิถุนายน 2552 : มหาสารคาม.
ทิพยวัฒน์ พันธะศรี.(2546). การศึกษาบทเพลงของวงมโหรีอีสาน หมู่บ้านเที่ยมแข้ จังหวัดร้อยเอ็ด.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธวัช วิวัฒนปฐพี. (2538). มโหรีพื้นบ้านอีสาน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด.วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิยพรรณ วรรณศริ. (2540). มานุษยวิทยา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์.
ประสิทธิ อินทศร. (2538). ของดีโคราช เล่มที่ 4 สาขาการกีฬา และนันทนาการ.ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. จำนวน 1,000 เล่ม.กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. (2557). พจนานุกรมภาษาโคราช. นครราชสีมา : มิตรภาพการพิมพ์.
เลิศศักดิ์ รักสุจริต. (2554). มโหรีพื้นบ้าน : กรณีศึกษาคณะก้องฟ้า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุกิจ พลประถม. (2538). ดนตรีชาวอีสานที่กำลังถูกลืม“มโหรีอีสาน”.ใน.คำดนตรี.ขอนแก่น : คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุริชัย หวันแก้ว และคณะ. (2540). สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนอง คลังพระศรี. (2550). พื้นเมืองชลบถ ชำระ และบันทึกประวัติศาสตร์ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.
กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.