การวิเคราะห์ทางปี่ใน เพลงกราวใน สองชั้น ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร

Main Article Content

นราธร ยืนยั่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแปรทำนองปี่ใน และศึกษากลวิธีในการเป่าปี่ใน  เพลงกราวใน สองชั้น ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2494 โดยการศึกษาวิเคราะห์จาก โน้ตสากล (Score) โดยเป็นพระดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดให้มีริเริ่มการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากลครั้งแรกของประเทศไทย วิธีการดำเนินการวิจัย โดยการศึกษาจากเอกสาร โน้ตเพลงกราวในสองชั้น ในเพลงชุดโหมโรงเย็น ฉบับรวมเครื่อง กรมศิลปากร ผู้วิจัยได้นำโน้ตสากลแปลงเป็นโน้ตไทย เพื่อสะดวกต่อการนำมาศึกษาวิเคราะห์ ตามทฤฎีการวิเคราะห์เพลงไทย และได้แบ่งประเด็นการศึกษาวิเคราะห์ไว้  ดังนี้ 1.โครงสร้างทำนองหลัก 2.วิเคราะห์การดำเนินทำนองของปี่ใน 3.ศึกษากลวิธีในการบรรเลง จากสัญลักษณ์ที่ปรากฎในโน้ตสากล


จากผลการวิจัยพบว่า การผูกกลอนของเครื่องดนตรีปี่ในที่เป็นเอกลักษณ์ของ ครูเทียบ คงลายทอง ครูผู้บอกทางเพลงในการจดบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากลในครั้งนี้ มีการใช้รูปแบบวิธีการของการผูกกลอนหรือดำเนินกลอนปี่ในที่หลากหลาย คือ 1.การผูกกลอนในลักษณะสัมพันธ์กับทำนองหลัก  2.การผูกกลอนในลักษณะทำนองทางพัน 3. การผูกกลอนในลักษณะทางโอด 4.การผูกกลอนในลักษณะตกตรงตามจังหวะตก  5.กลอนในลักษณะย้อยจังหวะตก


กลวิธีต่างๆ ที่ใช้ในการเป่าปี่ในเพลงกราวในสองชั้นดังนี้ 1.กลวิธีการตีนิ้ว 2.กลวิธีการเป่าควงเสียง 3.กลวิธีการเป่าขยี้ 4.กลวิธีการเป่าสะบัด 5.กลวิธีการเน้นความดังของเสียง ทำให้เห็นถึงลักษณะการผูกกลอน และกลวิธีต่าง ๆ ในบทเพลงกราวในได้เป็นอย่างดี และสามารถนำกลอนนี้มาประยุกต์ใช้ในการผูกกลอนปี่ในในเพลงอื่นๆ ได้

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมศิลปากร. (2494). เพลงชุดโหมโรงเย็น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยพัฒนาพานิช.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชายพิมพ์.
สุจิตต์ วงเทพ. (2532). ร้องรำทำเพลง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรงเทพฯ : พิฆเนศ พริ้นติ้งเซนเตอร์.