ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง อ.สันทราย จ. เชียงใหม่

Main Article Content

เจิมขวัญ รัชชุศานติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จำนวน 25 ราย ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) ได้แก่ ผู้นำชุมชน  เจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักวิชาการ ประชาชนที่เกี่ยวข้อง  และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง  พระบาทตีนนก และหนองบัวซึ่งพบว่าคุณลักษณะด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ด้านความน่าดึงดูดใจ มีแหล่งที่ท่องเที่ยวคือพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งที่เป็นสถานที่อนุรักษ์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลอุทยานการศึกษาในวัด มีเอกลักษณ์ชัดเจน เป็นแหล่งเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่หาดูได้ยาก ด้านการเข้าถึงในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวมีเส้นทางเดียวจากอำเภอเมือง  ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวมีศูนย์บริการข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ มีร้านค้าและป้ายบอกเส้นทางชัดเจน  และองค์ประกอบศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ด้านพื้นที่ของบริเวณพิพิธภัณฑ์มีแหล่งท่องเที่ยวคือ พระบาทตีนนก และหนองบัว ด้านการจัดการขาดการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน  สมาชิกขาดความรู้ทางด้านการบริหาร  การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ ด้านกิจกรรม/กระบวนการ ชุมชนมีการร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชน  ได้รับการผลักดันในการสร้างศูนย์กำจัดศัตรูพืช  ด้านการมีส่วนร่วม ชุมชนรณรงค์ให้มีความร่วมมือกับเครือข่ายในการนำเอาผู้ติดยาที่ได้รับการบำบัดมาช่วยผลิตเครื่องเงินร่วมกับคนในชุมชน โดยภาพรวมถึงศักยภาพการท่องเที่ยวยังมีความพร้อมไม่เพียงพอ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซี่ยน พ.ศ. 2554-
2558. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561) แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กัลยา สว่างคง. (2558). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี.
วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(89)
ณัฎฐกฤษณ์ เอกวรรณัง. (2553). การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย.
ภัทร์ธนกัลย์ เตี่ยไพบูลย์. (2557). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน บ้านหัวนอนวัด ตำบลแม่ทอม
อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วงศ์ธีรา สุวรรณิน และคณะ. (2557). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3)
วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์.
สารนิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุพรรณิการ์ ขวัญเมืองและ เบญจวรรณ โมกมล. (2550). ศักยภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยวเชิงสปา
จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
โสภณ สุขสำอางค์. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม : กรณีศึกษา : ตลาดน้ำ
วัดกลางคูเวียง ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Bloomberg, L. D., & Volpe, M. (2012). Completion Your Qualitative Dissertation: A Road Map
from Beginning to End (2nd ed.) Thousand Oakes, CA: SAGE.
Pathomkanjana, Chaichan. (2014). Guildelines for the Promotion of Cultural Tourism
Participation of Community Bangluag, Banglen District, Nakhon Pathom Province.
Academic Services Journal Prince of Songkla University. 26(1), 118-129.