การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนภูเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

Main Article Content

ภคมน โกษาจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาผลการพัฒนาและเปรียบเทียบความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนภูเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จำนวน 21 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ 3) แบบทดสอบท้ายวงจร และ 4) แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิลคอกซัน 


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพปัญหานักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องที่โจทย์กำหนดให้ ไม่รู้ว่าต้องใช้วิธีอะไรในการหาคำตอบ โจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นจะวิเคราะห์โจทย์ปัญหาไม่ได้ ขาดทักษะการคำนวณ ขาดลำดับขั้นตอนในการแก้โจทย์ปัญหา          

  2. ผู้ให้ข้อมูลมีความคาดหวังอยากให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหา หาคำตอบ และแก้โจทย์ปัญหาจากสถานการณ์ในชีวิตจริงได้ นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาทางด้านคณิตศาสตร์ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 65 จากคะแนนเต็ม และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำต้องจำนวน ร้อยละ 80 จากนักเรียนทั้งหมด  แนวทางในการพัฒนา ผู้ให้ข้อมูลเสนอว่าควรจัดทำแบบฝึกโจทย์ปัญหาจากง่ายไปยาก  โจทย์ปัญหาใกล้ตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  จัดหานวัตกรรมมาช่วยสอน  ได้แก่ ชุดกิจกรรม  แบบฝึกทักษะ  บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์  การวาดรูป บาร์โมเดล  เวทคณิตแบบอินเดีย การ์ตูนโจทย์ปัญหาตามขั้นตอนของโพลยา สื่อจากอินเทอร์เน็ต  กลุ่มสื่อการสอนคณิตศาสตร์ในเฟซบุ๊กหรือกลุ่มไลน์

  1. ผลการพัฒนา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโจทย์ปัญหา โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 22.14 คิดเป็นร้อยละ 73.81 ของคะแนนเต็ม นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ของนักเรียนทั้งหมด และผลการเปรียบเทียบ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังที่ได้รับการพัฒนามีความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กชกร พัฒเสนา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมกาเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร ระคน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จันทบุรี : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กรองทอง ไคริรี. (2544). แบบฝึกการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้บาร์โมเดล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.กรุงเทพฯ
: เอ ทีม บิสซิเนส.
เกษรา ภัทรเดชไพศาล.(2541). กิจกรรมเสริมทักษะการอ่านเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).เชียงใหม่ : สาขาวิชาการสอนภาษาไทยมหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
โกสินทร์ โกมลไสย. (2556). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฟากนา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). เลย : สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
จันทิมา บุญเทพ. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้น
ประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนบ้านห้วยส้มใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย
เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เลย : สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเลย.
นภดล กมลวิลาศเสถียร. (2549). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลฤทัย ลาพาเว. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตาม
กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาราชภัฏเชียงราย.
นิตยา ไพรสันต์. (2555). ผลการใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
สารในชีวิตประจำวันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนประจิมพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยุธยา เขต 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี :
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปานทอง กุลนาถศิริ. (2547). สัมมนาหลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์ เอกสารประกอบการ เรียนวิชา
506712. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนชุมชนภูเรือ. (2560 ก). แบบบันทึกข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียน (ปพ.5) ปีการศึกษา
2557 – 2559 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. เลย : โรงเรียนชุมชนภูเรือ.
วณัน ขุนศรี. (2549). เส้นทางสู่การปฏิรูปการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการชีวิตจริง : กรณีตัวอย่าง
คณิตศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2549.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555 ก). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2559).ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (NT).
http://180.180.244.45/ExamWeb/AnnouncementExams/NTSAnnouncement
Exams. aspx?mi=48 เข้าถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561.
Cheong,Y. K .(2009). The model method in Singapore. http://math.nie.edu.sg/.pdf
Retrieved March 4 , 2018.