การด้อยค่าของสินทรัพย์ของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

Authors

  • ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์ รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

การด้อยค่า, สินทรัพย์, ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, Impairment, Assets, Property Development Industry

Abstract

บทคัดย่อ

การด้อยค่าของสินทรัพย์ของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จากงบการเงินของ 59 บริษัทจดทะเบียน สำหรับปีบัญชี 2547-2551 พบว่า มีสาเหตุของการด้อยค่าหลายประการ ได้แก่ การชะลอโครงการก่อสร้าง การเลิกใช้งานที่ดินและอาคารบางส่วนและถือไว้รอจำหน่าย การถือสินทรัพย์ไว้เพื่อรอชำระหนี้ การไถ่ถอนเงินลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ การไม่มีอิทธิพลต่อบริษัทร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน และการคาดว่าที่ดินที่รอการพัฒนาจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต กิจการบันทึกบัญชีเพื่อรับรู้การด้อยค่าโดยเดบิตบัญชีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครดิตบัญชีค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ และแสดงผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ไว้ในงบกำไรขาดทุน เป็นรายการค่าใช้จ่ายที่แยกออกมาชัดเจน พร้อมทั้งแสดงในงบกระแสเงินสด เป็นรายการปรับปรุงกำไรตามเกณฑ์คงค้างให้เป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานโดยการบวกกลับกำไรสุทธิ เมื่อขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์หมดไป กิจการจึงโอนกลับผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และแสดงเป็นรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน และแสดงเป็นรายการหักออกจากกำไรสุทธิในงบกระแสเงินสด อย่างไรก็ตามมีบางบริษัทได้นำต้นทุนโครงการซึ่งควรเป็นส่วนของสินค้าคงเหลือ แต่ได้นำมาพิจารณาการด้อยค่าด้วย นอกจากนี้พบว่า โดยภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมธุรกิจในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีผลขาดทุนจากการด้อยค่า ไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าสินทรัพย์รวม ซึ่งถือได้ว่ามีมูลค่าน้อยมากดังนั้นจึงไม่น่ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ที่นำงบการเงินดังกล่าวไปใช้

คำสำคัญ : การด้อยค่า สินทรัพย์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

 

ABSTRACT

To study the impairment of assets of property development industry, using financial statements of59 listed companies for the year 2004-2008. It was found that the causes inducing assets impairment were: the less-progress of the instruction project, the deposal of assets; partly of land and building held for sale, assets held for paying debt, refunding foreign long lived assets fund, the less impact on related companies and worse economic benefit of the land held for development. Accounts concerning the recognition of impairment loss are Impairment Loss Account and Allowance for Impairment Loss Account. The Impairment Loss Account is expense account, separated from other accounts in Income Statement and also presented in the Cash Flow Statement by adding to net profit of operating activities. The reversing entries of the impairment loss was classified as other income in Income Statement and also shown in the Statement of Cash Flows by deducting from net profit of operating activities. However, some companies combine entries relating to impairment loss and some companies took the cost of construction project (that should be inventory) into impairment considerations. Additionally it was found that the impairment loss in property development industry was less than 5 percent of total assets. Therefore it scarcely effect to anyone who uses these financial statements in economic decision making.

Keywords : Impairment, Assets, Property Development Industry

Downloads

How to Cite

วศวรรณวัฒน์ ธ. (2013). การด้อยค่าของสินทรัพย์ของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. Modern Management Journal, 10(2), 40–46. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11826