ผลกระทบทางด้านภาษีอากรต่อการบริหารจัดการสัญญาแฟรนไชส์ยุคใหม่

Authors

  • ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ หุ้นส่วน (ฝ่ายภาษี) บริษัท ที่ปรึกษาเอชเอ็นพี จำกัด อาจารย์พิเศษ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาภาษีอากร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

ผลกระทบทางด้านภาษีอากร, การบริหารจัดการ, สัญญาแฟรนไชส์, ยุคใหม่, Tax Consequences, Managing, Franchise Agreement, New Era

Abstract

บทคัดย่อ

ศาลฎีกาตามคำพิพากษาฎีกาที่ 4440/2552 ได้ตีความว่างบโฆษณาและส่งเสริมการขายที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จ่าย ให้แก่บุคคลภายนอกตามสัญญาแฟรนไชส์นั้น ให้ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของเจ้าของแฟรนไชส์ที่มีสิทธิได้รับจากผู้รับ สิทธิแฟรนไชส์ ดังนั้นผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเสมือนว่าได้มีการ จ่ายงบโฆษณาดังกล่าวให้แก่เจ้าของแฟรนไชส์โดยตรง

การตีความตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวใช้หลักเหตุผลที่เจ้าของแฟรนไชส์มีสิทธิได้รับประโยชน์จากงบโฆษณา และส่งเสริมการขายที่สามารถคำนวณได้เป็นเงิน โดยไม่คำนึงถึงว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะได้รับประโยชน์นั้นแล้วหรือไม่ ดังนั้น คู่สัญญาแฟรนไชส์จึงควรทบทวนสัญญาแฟรนไชส์ของตน เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับแนวการตีความ ดังกล่าว เพื่อให้มีการบริหารความเสี่ยงทางภาษีที่ดีสำหรับสัญญาแฟรนไชส์ต่อไป

คำสำคัญ : ผลกระทบทางด้านภาษีอากร, การบริหารจัดการ, สัญญาแฟรนไชส์, ยุคใหม่

 

Abstract

The Supreme Court in its decision No. 4440/2552 interpreted that the budgets and expenses in relation to advertisement and sales promotion under the franchise contract paid by the franchisee to the third party shall be deemed the assessable income derivable by the franchisor. Therefore, the franchisee is required to deduct tax from the deeming payment of such budgets and expenses including remitting the self-assessed VAT similar to such payment is made to the franchisor directly.

Such interpretation was ruled on the basis that the benefits and expenses are derivable by the franchisor from such budgets and expenses and it can be calculated into the monies regardless of whether such benefits will be actually derived by the franchisor or not. Consequently, the contractual parties of franchise agreement should review its franchise contract and adjust the terms and condition of contract following to the court interpretation in order to conduct a good tax risk management for the franchise contract.

Keywords : Tax Consequences, Managing, Franchise Agreement, New Era

Downloads

How to Cite

วิสุทธิแพทย์ ช. (2013). ผลกระทบทางด้านภาษีอากรต่อการบริหารจัดการสัญญาแฟรนไชส์ยุคใหม่. Modern Management Journal, 8(2), 1–16. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11848