การประเมินความพึงพอใจการปฎิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการในสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Authors

  • สุรีย์ เข็มทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

ความพึงพอใจการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายวิชาการ, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, Job Satisfaction, Academic Staff, Management Science, Sukhothai Thammathirat Open University

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคณาจารย์ในสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย 3 กลุ่ม คือ 1) ด้านการบริหาร 2)ด้านการสนับสนุนภายในสาขาวิชาฯ และ 3) ด้านภาระงาน กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ คณาจารย์ของสาขาวิชาวิทยาการจัดการ ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน จำนวน 35 คนได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มปัจจัยด้านการบริหาร ด้านการสนับสนุน และด้านภาระงาน และแบบประเมินความพึงพอใจโดยรวม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าคณาจารย์มีความพึงพอใจโดยรวมต่อการปฏิบัติงานในสาขาวิชาวิทยาการจัดการอยู่ในระดับมาก และกลุ่มปัจจัยด้านภาระงานด้านการบริหาร และด้านการสนับสนุน มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในลักษณะเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และปัจจัยด้านภาระงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหาร และการสนับสนุน ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญต่อการจัดภาระงานและการกำหนดการดำเนินการภายในสาขาวิชาฯ ที่สอดคล้องกับความต้องการของคณาจารย์

คำสำคัญ: ความพึงพอใจการปฏิบัติงาน บุคลากรสายวิชาการ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

ABSTRACT

The aims of this study were to evaluate the level of job satisfaction among academicians of Management Science in Sukhothai Thammathirat Open University. The relationships between three groups of factors: 1) management, 2) supportive and 3) workload and level of job satisfaction were also examined. The sample size was a total of 35 academicians who had been working at Management Science for six months by using purposive technique. Data were collected by using survey questionnaires including personal information, groups of factors: 1) management, 2) supportive and 3) workload, and job satisfaction assessment. Descriptive statistics and inferential statistics including Pearson product-moment correlation coefficient were used to analysed the data. The results indicated that job satisfaction levels of the academicians were high. The correlation analysis showed that there was a statistically significant positive correlation between factors of management, supportive and workload and the job satisfaction at level of 0.05. In terms of groups of factors, workload was found to be the highest related with the job satisfaction followed by management and supportive. The findings of the study can be utilized to enhance the level of job satisfaction among Academic Staff of Management Science in Sukhothai Thammathirat Open University. The management should focus on workload and managerial performance that academicians perceived as being important in determining job satisfaction.

Keywords: Job Satisfaction, Academic Staff, Management Science, Sukhothai Thammathirat Open University

Downloads

How to Cite

เข็มทอง ส., & เกียรติวัชรชัย ก. (2013). การประเมินความพึงพอใจการปฎิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการในสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Modern Management Journal, 9(2), 41–53. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11869