การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

Main Article Content

nattawadee thatdee

บทคัดย่อ

58255304     :  สาขาการสอนภาษาไทย


คำสำคัญ         :  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้/การเรียนรู้เชิงรุก/การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ


                   ณัฐวดี  ธาตุดี : การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.ดร.ณัฐกิตติ์  สิริวัฒนาทากุล, ผศ.ดร.บุษบา  บัวสมบูรณ์ และ อ.ดร.พิทักษ์  สุพรรโณภาพ  178 หน้า


 


                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning 2. ศึกษาความสามารถของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 และ  3. ศึกษาความคิดเห็นของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จำนวน 35คน ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1.แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 2.แผนการจัดการเรียนรู้ 3.แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยgif.latex?\bar{x}และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)วิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และผลการศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยใช้ t-test one sample


 


                   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


          1. เปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นที่1 ขั้นเปิดประสบการณ์ ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอสถานการณ์ ขั้นที่3 ขั้นระดมความคิดดำเนินกิจกรรม ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างองค์ความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นสะท้อนความคิด โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.83 ค่า t เท่ากับ 22.24 ซึ่งพบว่าหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนสามารถอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          2. ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยใช้t-test one sample พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 24.82


          3. ผลการตอบแบบสอบถามของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกพบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ตามด้วยด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)