ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

นพพร จันทรนำชู

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอองค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนคุณธรรมปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เสนอแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าไปพร้อมกับความสมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ อีกทั้งยังเป็นปรัชญาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งระดับปัจเจกบุคคล องค์กร ชุมชน และรัฐบาลในการพัฒนาประเทศโดยเน้นการพัฒนาคน การพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อส่วนรวม การพัฒนาที่สมดุล การพัฒนาที่ก้าวหน้าและมั่นคง และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

The Philosophy of Sufficiency Economy and Sustainable Development

The purpose of this article is to present the three pillars of sufficiency economy, namely moderation, reasonableness and self-immunity, exiting within the two conditions: knowledge and virtue. The philosophy of sufficiency economy is an approach which introduces the concepts of existence and self-conduct in society leading both to progress with equilibrium and readiness for change under globalization. The philosophy can be applied to individuals, organizations, communities and governments for country development, emphasizes human development, public target development, equal development and progress towards stable development, thus leading to the achievement of sustainable development goal.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)